นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดจากจังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี วันนี้ (16 ก.ค.) เพื่อเร่งรัดดำเนินโครงการตามแผนงานพัฒนาการเกษตรพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปีนี้กระทรวงเกษตรฯ จัดสรรงบประมาณ 1,618 ล้านบาท เพื่อพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ดังกล่าว และปี 2553 ยังจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็น 2,786 ล้านบาท มาพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ตามแผนงานหลัก คือ แผนยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตประชาชน 29 โครงการ วงเงิน1,121 ล้านบาท และแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการลงทุนจำนวน 10 โครงการ วงเงิน 1,525 ล้านบาท
นายธีระ กล่าวว่า การดำเนินโครงการนั้นเน้นสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชน โดยมีเป้าหมายหมู่บ้านยากจน 696 หมู่บ้าน เป็นอันดับแรก จากนั้นจะขยายสู่หมู่บ้านที่เหลือให้ครบทุกแห่งในระยะ 3 ปี จำนวน 2,901 หมู่บ้าน โดยจะสำรวจความต้องการและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนให้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำ เพื่อให้โครงการเกิดความยั่งยืน สำหรับโครงการที่กระทรวงเกษตรฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนายกระดับรายได้นั้น เช่น การเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์ม 200,000 ไร่ พัฒนาพื้นที่นาร้าง และปรับปรุงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และส่งเสริมการเลี้ยงแพะ เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล รวมทั้งการสร้างระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญการพัฒนาการเกษตร เพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และยกระดับรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยจาก 64,000 บาท/ปี เป็นไม่ต่ำกว่า 120,000 บาทต่อปี ซึ่งส่งผลทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่โดยรวม
นายธีระ กล่าวว่า การดำเนินโครงการนั้นเน้นสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชน โดยมีเป้าหมายหมู่บ้านยากจน 696 หมู่บ้าน เป็นอันดับแรก จากนั้นจะขยายสู่หมู่บ้านที่เหลือให้ครบทุกแห่งในระยะ 3 ปี จำนวน 2,901 หมู่บ้าน โดยจะสำรวจความต้องการและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนให้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำ เพื่อให้โครงการเกิดความยั่งยืน สำหรับโครงการที่กระทรวงเกษตรฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนายกระดับรายได้นั้น เช่น การเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์ม 200,000 ไร่ พัฒนาพื้นที่นาร้าง และปรับปรุงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และส่งเสริมการเลี้ยงแพะ เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล รวมทั้งการสร้างระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญการพัฒนาการเกษตร เพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และยกระดับรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยจาก 64,000 บาท/ปี เป็นไม่ต่ำกว่า 120,000 บาทต่อปี ซึ่งส่งผลทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่โดยรวม