ชาวสวนยางบางส่วน จ.สุราษฎร์ธานี เชื่อว่า ปัญหายางพาราราคาตกต่ำขณะนี้ มีสาเหตุจากพ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อ ส่วนแนวทางการให้เงินกู้ยืมกับชาวสวนยางนำไปรับซื้อน้ำยางมาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ยางมีราคาสูงขึ้น เป็นการช่วยเหลือที่ปลายเหตุ ซึ่งรัฐบาลควรจัดหาตลาดให้ชาวสวนยางโดยตรง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ที่อนุมัติเงินจำนวน 8,000 ล้านบาท เพื่อให้ชาวสวนยางกู้ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กลับไม่สามารถปล่อยกู้ได้มาก เพราะติดเงื่อนไขที่กำหนดว่า สหกรณ์ที่มาขอกู้ต้องมีโรงบ่มยางเป็นของตัวเอง
ที่ผ่านมา ชาวสวนยางบางส่วนที่รวมกลุ่มกัน แต่ไม่มีเงินทุนสร้างโรงบ่ม ทำให้ไม่สามารถกู้เงินจากโครงการนี้ได้ ประกอบกับราคายางขณะนี้ ลดลงเหลือเพียงกิโลกรัมละ 49-50 บาท ยิ่งทำให้ชาวสวนยางไม่มีสภาพคล่อง และต้องตัดต้นยางพาราขาย แม้จะสามารถกรีดยางได้ก็ตาม
ส่วนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่ผ่านมา ที่อนุมัติเงินจำนวน 8,000 ล้านบาท เพื่อให้ชาวสวนยางกู้ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กลับไม่สามารถปล่อยกู้ได้มาก เพราะติดเงื่อนไขที่กำหนดว่า สหกรณ์ที่มาขอกู้ต้องมีโรงบ่มยางเป็นของตัวเอง
ที่ผ่านมา ชาวสวนยางบางส่วนที่รวมกลุ่มกัน แต่ไม่มีเงินทุนสร้างโรงบ่ม ทำให้ไม่สามารถกู้เงินจากโครงการนี้ได้ ประกอบกับราคายางขณะนี้ ลดลงเหลือเพียงกิโลกรัมละ 49-50 บาท ยิ่งทำให้ชาวสวนยางไม่มีสภาพคล่อง และต้องตัดต้นยางพาราขาย แม้จะสามารถกรีดยางได้ก็ตาม