นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปราศรัยเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด ว่า องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิก จึงได้ให้ความสำคัญและยืนยันเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดตลอดมา และให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทุกปี
ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเร่งด่วน ด้วยยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน เพื่อสร้างเกราะและภูมิคุ้มกันที่จะต้านทานไม่ให้ยาเสพติดรุกล้ำเข้ามา โดย 5 รั้วป้องกัน ประกอบด้วย รั้วที่ 1 คือ รั้วชายแดน เพื่อป้องกันการนำเข้ายาเสพติดสู่ประเทศ รั้วที่ 2 คือ รั้วชุมชน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านและชุมชน รั้วที่ 3 คือ รั้วสังคม เพื่อขจัดปัจจัยเสี่ยงและเสริมสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะการสร้างพื้นที่ในเชิงสร้างสรรค์ให้กับเยาวชน เช่น การสร้างลานกีฬา ลานดนตรี ลานกิจกรรม ห้องสมุด ศูนย์เยาวชน และศูนย์วัฒนธรรม เป็นต้น รั้วที่ 4 คือ รั้วโรงเรียน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน และรั้วที่ 5 คือ รั้วครอบครัว เพื่อให้มีความเข้มแข็งและมีความพร้อมในการดูแลสมาชิกในครอบครัว
ความสำเร็จของยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ขึ้นอยู่กับการนำยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติจริง ในพื้นที่จริง หัวใจของการดำเนินงานในเรื่องนี้ จึงอยู่ที่ความร่วมมือในระบบการปกครอง ซึ่งประกอบด้วย ชุมชน ราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยชุมชนจะต้องดำเนินการในเรื่องการเฝ้าระวัง ดูแลกลุ่มเสี่ยง และดูแลเยาวชนลูกหลานของตน ท้องถิ่นหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องช่วยพัฒนาอาชีพ รายได้ และจัดกิจกรรมด้านกีฬาหรือเชิงวัฒนธรรม ส่วนราชการก็ต้องดำเนินการด้านการปราบปราม ขจัดแหล่งอบายมุขหรือผู้มีอิทธิพล ทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการดำเนินการ การต่อต้านยาเสพติดจึงจะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเร่งด่วน ด้วยยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน เพื่อสร้างเกราะและภูมิคุ้มกันที่จะต้านทานไม่ให้ยาเสพติดรุกล้ำเข้ามา โดย 5 รั้วป้องกัน ประกอบด้วย รั้วที่ 1 คือ รั้วชายแดน เพื่อป้องกันการนำเข้ายาเสพติดสู่ประเทศ รั้วที่ 2 คือ รั้วชุมชน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านและชุมชน รั้วที่ 3 คือ รั้วสังคม เพื่อขจัดปัจจัยเสี่ยงและเสริมสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะการสร้างพื้นที่ในเชิงสร้างสรรค์ให้กับเยาวชน เช่น การสร้างลานกีฬา ลานดนตรี ลานกิจกรรม ห้องสมุด ศูนย์เยาวชน และศูนย์วัฒนธรรม เป็นต้น รั้วที่ 4 คือ รั้วโรงเรียน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน และรั้วที่ 5 คือ รั้วครอบครัว เพื่อให้มีความเข้มแข็งและมีความพร้อมในการดูแลสมาชิกในครอบครัว
ความสำเร็จของยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ขึ้นอยู่กับการนำยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติจริง ในพื้นที่จริง หัวใจของการดำเนินงานในเรื่องนี้ จึงอยู่ที่ความร่วมมือในระบบการปกครอง ซึ่งประกอบด้วย ชุมชน ราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยชุมชนจะต้องดำเนินการในเรื่องการเฝ้าระวัง ดูแลกลุ่มเสี่ยง และดูแลเยาวชนลูกหลานของตน ท้องถิ่นหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องช่วยพัฒนาอาชีพ รายได้ และจัดกิจกรรมด้านกีฬาหรือเชิงวัฒนธรรม ส่วนราชการก็ต้องดำเนินการด้านการปราบปราม ขจัดแหล่งอบายมุขหรือผู้มีอิทธิพล ทั้ง 3 ส่วนนี้จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการดำเนินการ การต่อต้านยาเสพติดจึงจะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน