กลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ของไทย กำลังระดมแนวร่วมและปลูกฝังแนวคิดสุดโต่งในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ของคนกลุ่มนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ในระดับสากล สถาบันศึกษาวิจัยระหว่างประเทศรายงานเมื่อวานนี้(22)
กองกำลังแบ่งแยกดินแดนจะชักจูงชาวมุสลิมที่มีความศรัทธาและขยันขันแข็ง ส่วนมากจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ให้เข้าร่วมโครงการอบรมต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งแฝงในรูปแบบของการสอนฟุตบอล ทั้งนี้จากรายงานของอินเตอร์เนชั่นเนล ไครซิส กรุ๊ป (ไอซีจี)
ผู้คนมากกว่า 3,700 รายต้องสังเวยชีวิตให้กับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดนราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และบางส่วนของสงขลา ตลอดระยะ 5 ปีของการสู้รบต่อต้านการปกครองของรัฐบาลไทย
กลุ่มแบ่งแยกดินแดนจะระดมมวลชนด้วยความรู้สึกของเชื้อชาตินิยมมาเลย์ในจังหวัดภาคใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยแต่เดิมมีสุลต่านชาวมาเลย์ปกครองอาณาจักร กระทั่งถูกไทยยึดครองในปี 1902 รุ่งรวี เฉลิม ศรีภิญโญรัช นักวิเคราะห์ของอินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ป ประจำประเทศไทยกล่าว
"พวกเขาบอกกับนักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ว่า เป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนที่จะต้องทวงคืนดินแดนของตนเองจากจากพวกคนพุทธ"
สถาบันศึกษาวิจัยแห่งนี้บอกอีกว่า การต่อสู้ของกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ของไทย "แตกต่างในทางอุดมการณ์" กับกองกำลังอิสลามิสต์ระดับสากล เช่น อัลกออิดะห์ แม้จะใช้คำพูดทำนองเดียวกันในการระดมการสนับสนุนก็ตาม
กองกำลังแบ่งแยกดินแดนจะชักจูงชาวมุสลิมที่มีความศรัทธาและขยันขันแข็ง ส่วนมากจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ให้เข้าร่วมโครงการอบรมต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งแฝงในรูปแบบของการสอนฟุตบอล ทั้งนี้จากรายงานของอินเตอร์เนชั่นเนล ไครซิส กรุ๊ป (ไอซีจี)
ผู้คนมากกว่า 3,700 รายต้องสังเวยชีวิตให้กับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดนราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และบางส่วนของสงขลา ตลอดระยะ 5 ปีของการสู้รบต่อต้านการปกครองของรัฐบาลไทย
กลุ่มแบ่งแยกดินแดนจะระดมมวลชนด้วยความรู้สึกของเชื้อชาตินิยมมาเลย์ในจังหวัดภาคใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยแต่เดิมมีสุลต่านชาวมาเลย์ปกครองอาณาจักร กระทั่งถูกไทยยึดครองในปี 1902 รุ่งรวี เฉลิม ศรีภิญโญรัช นักวิเคราะห์ของอินเตอร์เนชั่นแนล ไครซิส กรุ๊ป ประจำประเทศไทยกล่าว
"พวกเขาบอกกับนักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ว่า เป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนที่จะต้องทวงคืนดินแดนของตนเองจากจากพวกคนพุทธ"
สถาบันศึกษาวิจัยแห่งนี้บอกอีกว่า การต่อสู้ของกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ของไทย "แตกต่างในทางอุดมการณ์" กับกองกำลังอิสลามิสต์ระดับสากล เช่น อัลกออิดะห์ แม้จะใช้คำพูดทำนองเดียวกันในการระดมการสนับสนุนก็ตาม