นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานชี้แจงนโยบาย พร้อมทั้งปล่อยขบวนรถสารวัตรเกษตร ณ กรมวิชาการเกษตรว่า ขณะนี้เป็นช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูก เกษตรกรมีความต้องการใช้ปุ๋ย และวัตถุอันตรายทางการเกษตรค่อนข้างมาก เป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการลักลอบผลิตปุ๋ยปลอม ปุ๋ยผิดมาตรฐาน และเสื่อมคุณภาพ ซึ่งมีทั้งปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ รวมถึงสารเคมีทางการเกษตรมาจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยปลอม และวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่ไม่ได้มาตรฐาน ระบาดไปสู่เกษตรกรผู้ใช้ กระทรวงเกษตรฯ จึงมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร เพิ่มความเข้มงวด ในการตรวจสอบสถานที่ผลิต และจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์พืชควบคุม โดยได้ปล่อยขบวนคาราวานเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร ทั้งจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค รวมกว่า 320 นาย ลงพื้นที่ตรวจสอบแหล่งผลิต และร้านจำหน่ายปัจจัยผลิตทางการเกษตร ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตรกว่า 13,000 แห่งทั่วประเทศ
ด้านนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากการที่กรมวิชาการเกษตรตรวจจับปุ๋ย และสารเคมีทางการเกษตรปลอมมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2552 นี้กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินคดีกับผู้ผลิต และจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิดกฎหมายแล้ว จำนวน 345 ราย สั่งพักใช้ใบอนุญาตจำนวน 13 ราย พร้อมยึดและอายัดของกลางไว้กว่า 235 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 47 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังได้ดำเนินคดีกับผู้ผลิต และจำหน่ายปุ๋ยปลอมจำนวน 530 ราย สั่งพักใช้ใบอนุญาต 46 ราย
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ๋ยปลอม และวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่ไม่ได้มาตรฐาน ระบาดไปสู่เกษตรกรผู้ใช้ กระทรวงเกษตรฯ จึงมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร เพิ่มความเข้มงวด ในการตรวจสอบสถานที่ผลิต และจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์พืชควบคุม โดยได้ปล่อยขบวนคาราวานเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตร ทั้งจากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค รวมกว่า 320 นาย ลงพื้นที่ตรวจสอบแหล่งผลิต และร้านจำหน่ายปัจจัยผลิตทางการเกษตร ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตรกว่า 13,000 แห่งทั่วประเทศ
ด้านนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากการที่กรมวิชาการเกษตรตรวจจับปุ๋ย และสารเคมีทางการเกษตรปลอมมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2552 นี้กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินคดีกับผู้ผลิต และจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรผิดกฎหมายแล้ว จำนวน 345 ราย สั่งพักใช้ใบอนุญาตจำนวน 13 ราย พร้อมยึดและอายัดของกลางไว้กว่า 235 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 47 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังได้ดำเนินคดีกับผู้ผลิต และจำหน่ายปุ๋ยปลอมจำนวน 530 ราย สั่งพักใช้ใบอนุญาต 46 ราย