เจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรพัฒนาชุมชน แจกจ่ายอาหารให้กับผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบระหว่างทหารพม่า กับกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู โดยขณะนี้ผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ ต้องอยู่กันอย่างแออัด ที่สำนักสงฆ์บ้านหนองบัว ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
พ.อ.นพดล วชรจิตบวร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 กองกำลังนเรศวร กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายนเป็นต้นมา มีผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบกว่า 2,800 คน ซึ่งฝ่ายการปกครอง อ.ท่าสองยาง และเจ้าหน้าที่ UNHCR ได้เร่งให้การช่วยเหลือ รวมทั้งการควบคุมโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในไทย
ส่วนสถานการณ์การสู้รบของทั้ง 2 ฝ่าย ยังไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ทหารยังคงตรึงกำลังตามแนวชายแดน พร้อมอาวุธหนัก เพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย
มีรายงานว่า หมู่บ้านกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่กับญานที่ตั้งกองพันที่ 22 ของกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง กลายเป็นหมู่บ้านร้าง เนื่องจากคนชรา และเด็กได้หลบหนีภัยจากกาสู้รบ เข้ามาในประเทศไทย ส่วนชายฉกรรจ์ได้ร่วมกับกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู นอกจากนั้นทหารพม่ากับกะเหรี่ยงดีเคบีเอ ได้ใช้ปืน ค.81 ยิงใส่ฐานที่มั่นของกองพัน 22 ของกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยูเป็นระยะ แต่ไม่มีการส่งทหารราบเข้าโจมตี เพื่อหลีกเลี่ยงกับระเบิด และการซุ่มโจมตีของกะเหรี่ยงเคเอ็นยู
พ.อ.นพดล วชรจิตบวร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 กองกำลังนเรศวร กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายนเป็นต้นมา มีผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบกว่า 2,800 คน ซึ่งฝ่ายการปกครอง อ.ท่าสองยาง และเจ้าหน้าที่ UNHCR ได้เร่งให้การช่วยเหลือ รวมทั้งการควบคุมโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในไทย
ส่วนสถานการณ์การสู้รบของทั้ง 2 ฝ่าย ยังไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ทหารยังคงตรึงกำลังตามแนวชายแดน พร้อมอาวุธหนัก เพื่อป้องกันการรุกล้ำอธิปไตย
มีรายงานว่า หมู่บ้านกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่กับญานที่ตั้งกองพันที่ 22 ของกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง กลายเป็นหมู่บ้านร้าง เนื่องจากคนชรา และเด็กได้หลบหนีภัยจากกาสู้รบ เข้ามาในประเทศไทย ส่วนชายฉกรรจ์ได้ร่วมกับกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู นอกจากนั้นทหารพม่ากับกะเหรี่ยงดีเคบีเอ ได้ใช้ปืน ค.81 ยิงใส่ฐานที่มั่นของกองพัน 22 ของกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยูเป็นระยะ แต่ไม่มีการส่งทหารราบเข้าโจมตี เพื่อหลีกเลี่ยงกับระเบิด และการซุ่มโจมตีของกะเหรี่ยงเคเอ็นยู