กลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนให้โอนเงินผ่านระบบเอทีเอ็ม ยังคงพบอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับการร้องเรียนจาก 1 ในผู้เสียหาย คือ นายภานุพล วิริยาลัย(***)ที่ร้องเรียนว่า ได้รับการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ และคนที่ติดต่ออ้างว่า มาจากสำนักงานประกันสังคม ต้องการจะคืนเงินประกันสังคมส่วนเกิน ให้กับผู้ประกันตนที่ไม่เคยใช้สิทธิ์
ผู้เสียหาย เล่าว่า กลุ่มมิจฉาชีพหลอกให้ไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม ครั้งแรก 100 บาท เพื่อตรวจสอบยอดเงินในบัญชี และที่ตั้งของตู้เอทีเอ็มที่จะใช้โอนเงิน จากนั้นให้ผู้เสียหายทำรายการ เพื่อรับรหัสลับ ที่ใช้ในการโอนเงิน และทำรายการเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อทำรายการเสร็จสิ้น จะให้ผู้เสียหายทำลายใบบันทึกรายการ โดยอ้างว่า เป็นความลับของบริษัท
พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผู้กำกับการ 6 กองบังคับการตำรวจน้ำ หนึ่งในคณะทำงานปราบปรามอาชญากรข้ามชาติ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กล่าวว่า กลุ่มมิจฉาชีพจะหลอกล่อผู้เสียหาย ให้ทำธุรกรรมผ่านทางตู้เอทีเอ็ม โดยคนร้ายจะเปิดบัญชีไว้ทุกธนาคาร และมีความชำนาญ ในการทำธุรกรรมผ่านทางตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งใช้การเจรจาหลอกล่อทุกวิถีทาง เพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ ยอมทำรายการผ่านตู้เอทีเอ็ม
พ.ต.อ.วิวัฒน์ กล่าวว่า จุดสังเกตพฤติกรรมของมิจฉาชีพคือ การทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งยืนยันว่า ไม่มีหน่วยราชการหน่วยไหน หรือว่าบริษัทเอกชนรายไหน ใช้วิธีจ่ายคืนผ่านตู้เอทีเอ็ม
ขณะที่นางสุจิตรา บุญชู รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ยืนยันว่า สำนักงานประกันสังคมไม่มีนโยบายจ่ายคืนเงินประกันสังคมส่วนเกิน กับผู้ประกันตนผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งไม่มีการติดต่อโดยตรงจากเจ้าหน้าที่ หากมีกรณีต้องจ่ายคืนเงินประกันตน ก็จะติดต่อผ่านบริษัทที่ผู้ประกันตนสังกัดอยู่ โดยเฉพาะจะต้องทำเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษร
ผู้เสียหาย เล่าว่า กลุ่มมิจฉาชีพหลอกให้ไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็ม ครั้งแรก 100 บาท เพื่อตรวจสอบยอดเงินในบัญชี และที่ตั้งของตู้เอทีเอ็มที่จะใช้โอนเงิน จากนั้นให้ผู้เสียหายทำรายการ เพื่อรับรหัสลับ ที่ใช้ในการโอนเงิน และทำรายการเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อทำรายการเสร็จสิ้น จะให้ผู้เสียหายทำลายใบบันทึกรายการ โดยอ้างว่า เป็นความลับของบริษัท
พ.ต.อ.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผู้กำกับการ 6 กองบังคับการตำรวจน้ำ หนึ่งในคณะทำงานปราบปรามอาชญากรข้ามชาติ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กล่าวว่า กลุ่มมิจฉาชีพจะหลอกล่อผู้เสียหาย ให้ทำธุรกรรมผ่านทางตู้เอทีเอ็ม โดยคนร้ายจะเปิดบัญชีไว้ทุกธนาคาร และมีความชำนาญ ในการทำธุรกรรมผ่านทางตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งใช้การเจรจาหลอกล่อทุกวิถีทาง เพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ ยอมทำรายการผ่านตู้เอทีเอ็ม
พ.ต.อ.วิวัฒน์ กล่าวว่า จุดสังเกตพฤติกรรมของมิจฉาชีพคือ การทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งยืนยันว่า ไม่มีหน่วยราชการหน่วยไหน หรือว่าบริษัทเอกชนรายไหน ใช้วิธีจ่ายคืนผ่านตู้เอทีเอ็ม
ขณะที่นางสุจิตรา บุญชู รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ยืนยันว่า สำนักงานประกันสังคมไม่มีนโยบายจ่ายคืนเงินประกันสังคมส่วนเกิน กับผู้ประกันตนผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งไม่มีการติดต่อโดยตรงจากเจ้าหน้าที่ หากมีกรณีต้องจ่ายคืนเงินประกันตน ก็จะติดต่อผ่านบริษัทที่ผู้ประกันตนสังกัดอยู่ โดยเฉพาะจะต้องทำเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษร