นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ 49,183 ล้านบาท นายสมชัย กล่าวว่า ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณรวม 458,500 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 25,112 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 433,388 ล้านบาท ขณะที่เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2552 เท่ากับ 97,890 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2552 มีรายได้นำส่งคลัง 92,499 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 31,654 ล้านบาท สาเหตุสำคัญจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจลดลง นอกจากนั้น การคืนภาษีของกรมสรรพากรก็เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 141,682 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 12,954 ล้านบาท ประกอบด้วย รายจ่ายประจำ 117,228 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว รายจ่ายลงทุน 19,966 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 55.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 4,488 ล้านบาท ซึ่งการเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือน เม.ย. ได้แก่ รายจ่ายให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 12,000 ล้านบาท เงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 6,800 ล้านบาท และสำนักงานประกันสังคม จำนวน 5,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2552 มีรายได้นำส่งคลัง 92,499 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 31,654 ล้านบาท สาเหตุสำคัญจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจลดลง นอกจากนั้น การคืนภาษีของกรมสรรพากรก็เพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 141,682 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 12,954 ล้านบาท ประกอบด้วย รายจ่ายประจำ 117,228 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว รายจ่ายลงทุน 19,966 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 55.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนอีกจำนวน 4,488 ล้านบาท ซึ่งการเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือน เม.ย. ได้แก่ รายจ่ายให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 12,000 ล้านบาท เงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 6,800 ล้านบาท และสำนักงานประกันสังคม จำนวน 5,000 ล้านบาท