ในการประชุมของคณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่มี พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธาน พรรคประชาธิปัตย์ได้ส่งข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเสนอให้แก้ไขมาตรา 237 ให้คงบทลงโทษกรรมการบริหารพรรคที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และกรรมการบริหารพรรคคนอื่น แต่ไม่ต้องยุบพรรค ส่วนมาตรา 190 ให้ระบุให้ชัดเจนว่าเรื่องใดต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภาบ้าง
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมในวันนี้ ได้มีการหยิบยกรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ขึ้นมาพิจารณา โดยความเห็นจากทุกพรรคการเมืองต้องการให้มีการแก้ไข ระบุให้ชัดเจนว่า สนธิสัญญาใดต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการประชุมในวันนี้ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้ทรงคุณวุฒิจากวุฒิสภา และ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ตัวแทน ส.ว. ซึ่งทั้งสองคนมีส่วนเกี่ยวข้องในการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ได้เข้าร่วมประชุมอยู่ด้วย ซึ่งคณะกรรมการบางคนต้องการให้ทั้งสองคนชี้แจงเหตุผล ว่าเหตุใดจึงรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนั้นด้วย
สำหรับการประชุมของคณะอนุกรรมการศึกษาหาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย ซึ่งมี นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ได้ขอความเห็นจากอนุกรรมการเพื่อขอให้ภาคประชาชน ภาคสังคมต่างๆ สามารถสร้างความเห็นในการสร้างความสมานฉันท์ตามช่องทางต่างๆ รวมทั้งเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความเห็นด้วย
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมในวันนี้ ได้มีการหยิบยกรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ขึ้นมาพิจารณา โดยความเห็นจากทุกพรรคการเมืองต้องการให้มีการแก้ไข ระบุให้ชัดเจนว่า สนธิสัญญาใดต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการประชุมในวันนี้ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ผู้ทรงคุณวุฒิจากวุฒิสภา และ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ตัวแทน ส.ว. ซึ่งทั้งสองคนมีส่วนเกี่ยวข้องในการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ได้เข้าร่วมประชุมอยู่ด้วย ซึ่งคณะกรรมการบางคนต้องการให้ทั้งสองคนชี้แจงเหตุผล ว่าเหตุใดจึงรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนั้นด้วย
สำหรับการประชุมของคณะอนุกรรมการศึกษาหาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย ซึ่งมี นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ได้ขอความเห็นจากอนุกรรมการเพื่อขอให้ภาคประชาชน ภาคสังคมต่างๆ สามารถสร้างความเห็นในการสร้างความสมานฉันท์ตามช่องทางต่างๆ รวมทั้งเชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความเห็นด้วย