คณะอนุกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองในสังคมไทย มีมติเสนอ 6 แนวทางลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม ต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ โดยขอความร่วมมือให้ทุกฝ่ายลดการตอบโต้และใส่ร้ายทางการเมือง รวมทั้งลดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และสื่อจะต้องระมัดระวังการนำเสนอข่าวในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ทั้งนี้ยังเห็นควรจัดให้มีกระบวนการเจรจาในกลุ่มของผู้นำความขัดแย้งแต่ละฝ่าย และประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดไม่สามารถหาข้อยุติได้ คือการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 237 และ มาตรา 68 ที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรค ที่จะเสนอต่อที่ประชุมเป็น 2 ความเห็น คือควรเยียวยา โดยจะต้องแบ่งกลุ่มผู้กระทำความผิดตามพฤติการแห่งความผิด โดยนายประเกียรติ นาสิมมา อนุกรรมการ สัดส่วนพรรคเพื่อไทย เห็นควรคืนสิทธิ์ให้กับผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์ ทั้ง 220 คน ขณะที่ นายศุภชัย ศรีหล้า คณะอนุกรรมการ สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าไม่ควรมีการเยียวยา เนื่องจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีความชอบแล้ว แต่มูลเหตุของการยุบพรรคมาจากการได้อำนาจมาโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ในวันพุธที่ 20 พฤษภาคมนี้ คณะอนุกรรมการจะเชิญตัวแทนจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมประชุมเสนอความเห็น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในวันพุธที่ 20 พฤษภาคมนี้ คณะอนุกรรมการจะเชิญตัวแทนจากทุกภาคส่วน เข้าร่วมประชุมเสนอความเห็น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป