นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารเชื่อว่าในไตรมาส 2 ของปีนี้จะเริ่มเห็นสัญญาณการขยายตัวของสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้ ตามภาวะเศรษฐกิจ โดยขณะนี้สัญญาณเศรษฐกิจโลกเริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ และเชื่อว่าจะเห็นการฟื้นตัวได้อย่างเด่นชัดในช่วงไตรมาส 4 โดยในไตรมาสแรกสินเชื่อของธนาคารลดลงประมาณร้อยละ 2-3 แต่ยังเชื่อว่าเป้าหมายสินเชื่อในปีนี้ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 5 จะยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ ยังมั่นใจว่าธนาคารจะสามารถรักษาระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปีนี้ไม่ให้เกินระดับร้อยละ 4 โดยไตรมาสแรกสัดส่วนเอ็นพีแอลธนาคารเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงทำให้มีตัวหารที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะเพิ่มระบบการติดตามเพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอล โดยเฉพาะการป้องกันลูกค้าที่เริ่มชำระหนี้ล่าช้า แต่ยังไม่ถึง 90 วัน เนื่องจากในขณะนี้เริ่มมีสัญญาณเพิ่มขึ้น ธนาคารจึงต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงหาแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละธุรกิจ เช่น การขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ หรือการปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น
ขณะเดียวกันธนาคารได้มีการตั้งสำรองเผื่อหนี้เสียในปีนี้เฉลี่ยไตรมาสละ 2 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้าที่ต้องตั้งสำรองเฉลี่ยไตรมาสละ 1.8-2 พันล้านบาท ทั้งนี้ สาเหตุของการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อรองรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมไปถึงรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ
ทั้งนี้ ยังมั่นใจว่าธนาคารจะสามารถรักษาระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปีนี้ไม่ให้เกินระดับร้อยละ 4 โดยไตรมาสแรกสัดส่วนเอ็นพีแอลธนาคารเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงทำให้มีตัวหารที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะเพิ่มระบบการติดตามเพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอล โดยเฉพาะการป้องกันลูกค้าที่เริ่มชำระหนี้ล่าช้า แต่ยังไม่ถึง 90 วัน เนื่องจากในขณะนี้เริ่มมีสัญญาณเพิ่มขึ้น ธนาคารจึงต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงหาแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละธุรกิจ เช่น การขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ หรือการปรับโครงสร้างหนี้ เป็นต้น
ขณะเดียวกันธนาคารได้มีการตั้งสำรองเผื่อหนี้เสียในปีนี้เฉลี่ยไตรมาสละ 2 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้าที่ต้องตั้งสำรองเฉลี่ยไตรมาสละ 1.8-2 พันล้านบาท ทั้งนี้ สาเหตุของการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อรองรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมไปถึงรองรับการขยายตัวของสินเชื่อ