รศ.น.พ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายบริหาร เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลได้รับตัวผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโกไว้ 1 ราย เป็นหญิงอายุ 42 ปี เป็นบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเดินทางปฏิบัติราชการที่ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายนที่ผ่านมา หลังกลับประเทศไทยมีไข้ต่ำในวันที่ 23 เมษายน จากนั้นกลับมามีไข้ต่ำอีกครั้งในวันที่ 26 เมษายน และวันนี้ (28 เม.ย.) เดินทางมารับการตรวจที่โรงพยาบาลด้วยไข้สูงถึง 37 องศาเซลเซียส แพทย์จึงรับตัวไว้ดูอาการ เนื่องจากสงสัยว่าอาจมีอาการติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก จึงต้องมีการตรวจอีกครั้งว่าเข้าเกณฑ์ป่วยด้วยโรคดังกล่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะรายงานตามระบบให้กระทรวงสาธารณสุขรับทราบอีกครั้ง
รศ.น.พ.ธีระพงศ์ กล่าวถึงช่วงเวลาการเดินทางของผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2552 อยู่ที่เม็กซิโก วันที่ 11-19 เมษายน อยู่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา วันที่ 19-21 เมษายน อยู่ที่ประเทศไทย และวันที่ 22-25 เมษายน อยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้สูงเมื่อวันที่ 23 เมษายน และไข้ลดลงด้วยการทานยาเอง และเมื่อวันที่ 26 เมษายนมีไข้ต่ำประกอบกับมีข่าวไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโก จึงเดินทางมาพบแพทย์ด้วยตัวเอง เบื้องต้นนอกจากแพทย์จะแยกคนไข้ไว้ในสถานที่เตรียมไว้แล้ว ยังได้ประสานไปยังเครือญาติที่คนไข้ได้สัมผัส หรือมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเฝ้าระวังต่อไป นอกจากนี้ แพทย์จะนำสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ไปตรวจที่ห้องแล็บเพื่อเพาะเชื้อภายใน 1-2 วัน จึงจะทราบผล
รศ.น.พ.ธีระพงศ์ กล่าวถึงช่วงเวลาการเดินทางของผู้สงสัยป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 3-11 เมษายน 2552 อยู่ที่เม็กซิโก วันที่ 11-19 เมษายน อยู่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา วันที่ 19-21 เมษายน อยู่ที่ประเทศไทย และวันที่ 22-25 เมษายน อยู่ที่สิงคโปร์ ซึ่งผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้สูงเมื่อวันที่ 23 เมษายน และไข้ลดลงด้วยการทานยาเอง และเมื่อวันที่ 26 เมษายนมีไข้ต่ำประกอบกับมีข่าวไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโก จึงเดินทางมาพบแพทย์ด้วยตัวเอง เบื้องต้นนอกจากแพทย์จะแยกคนไข้ไว้ในสถานที่เตรียมไว้แล้ว ยังได้ประสานไปยังเครือญาติที่คนไข้ได้สัมผัส หรือมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเฝ้าระวังต่อไป นอกจากนี้ แพทย์จะนำสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ไปตรวจที่ห้องแล็บเพื่อเพาะเชื้อภายใน 1-2 วัน จึงจะทราบผล