นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเลิกจ้างที่ต่อเนื่องในรอบปี 2551 มีสถานประกอบการปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานแล้ว 597 แห่ง ดังนั้น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และเครือข่ายองค์กรพันธมิตร จึงเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และแก้ไขปัญหาผู้ถูกเลิกจ้างและว่างงาน เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา โดยเปิดเป็นศูนย์ในระดับชาติ และระดับเขตพื้นที่ย่านอุตสาหกรรม จำนวน 20 ศูนย์ ครอบคลุมทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ และแรงงานหญิงที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย
จากการดำเนินงานของศูนย์ในช่วงที่ผ่านมา มีแรงงานจำนวน 13,270 คน เข้าร้องเรียน โดยปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก นายจ้างจำนวนมากใช้ประโยชน์จากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง การสะท้อนถึงพฤติกรรมของนายจ้างที่ไม่เป็นธรรม บางพื้นที่แรงงานเมื่อถูกเลิกจ้างต้องตกอยู่ในสภาพเปราะบาง ไม่มั่นคง กระทรวงแรงงานมักละเลย ลดอำนาจในการต่อรองของสหภาพแรงงาน อีกทั้งให้ความสนใจยึดติดกับตัวเลขการถูกเลิกจ้างในลักษณะมหภาค มากกว่าการพิจารณาการเลิกจ้างเป็นรายกรณี และปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายบริษัทยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทำได้เพียงการเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งกฎหมายยังเอื้อประโยชน์ต่อนายจ้างมากกว่าผู้ใช้แรงงาน
อย่างไรก็ตาม นายจ้างยังมีการใช้ประโยชน์จากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 45 ที่นายจ้างสามารถหยุดกิจการชั่วคราวได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าแรงเต็มจำนวน โดยต้องจายในอัตราร้อยละ 75 แต่นายจ้างละเมิดโดยการจ่ายค่าแรงเพียงร้อยละ 50
จากการดำเนินงานของศูนย์ในช่วงที่ผ่านมา มีแรงงานจำนวน 13,270 คน เข้าร้องเรียน โดยปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก นายจ้างจำนวนมากใช้ประโยชน์จากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง การสะท้อนถึงพฤติกรรมของนายจ้างที่ไม่เป็นธรรม บางพื้นที่แรงงานเมื่อถูกเลิกจ้างต้องตกอยู่ในสภาพเปราะบาง ไม่มั่นคง กระทรวงแรงงานมักละเลย ลดอำนาจในการต่อรองของสหภาพแรงงาน อีกทั้งให้ความสนใจยึดติดกับตัวเลขการถูกเลิกจ้างในลักษณะมหภาค มากกว่าการพิจารณาการเลิกจ้างเป็นรายกรณี และปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายบริษัทยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทำได้เพียงการเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งกฎหมายยังเอื้อประโยชน์ต่อนายจ้างมากกว่าผู้ใช้แรงงาน
อย่างไรก็ตาม นายจ้างยังมีการใช้ประโยชน์จากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 45 ที่นายจ้างสามารถหยุดกิจการชั่วคราวได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าแรงเต็มจำนวน โดยต้องจายในอัตราร้อยละ 75 แต่นายจ้างละเมิดโดยการจ่ายค่าแรงเพียงร้อยละ 50