นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า กบข.ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการที่ตลาดเงินตลาดทุนยังมีความผันผวนสูง จึงจะมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนแผนบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน เน้นเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงสูงมากกว่าในช่วงภาวะปกติเพื่อเพิ่มหลักประกันให้กับเงินต้นของสมาชิก
นอกจากนี้ กบข.ยังเพิ่มความถี่ในการติดตามภาวะความเสี่ยงของกองทุน รวมทั้งจัดทำแผนจำลองสถานการณ์วิกฤตต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบที่จะกระทบต่อการลงทุนของ กบข. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ และปรับกลยุทธ์เพื่อการบริหารความเสี่ยงไตรมาส 2 ปีนี้ โดยได้มีการปรับแผนการจัดสัดส่วนการลงทุนระยะยาว ปี 2552-2554 ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ กบข.เรียบร้อยแล้ว โดยได้มุ่งเน้นในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงมากขึ้น เช่น ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล รวมทั้งมีการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว
นายวิสิฐ กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินของโลกและไทยปีนี้ว่า หน่วยงานหลักของประเทศต่างๆ และนักวิเคราะห์ทั่วไปมีความเห็นใกล้เคียงกันว่าปี 2552 ยังเป็นปีที่ตลาดการเงินและเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับความเสี่ยงและภาวะความผันผวนสูงเช่นเดียวกับปี 2551 โดยความเสี่ยงที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ การแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงินของประเทศพัฒนาแล้วว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ และจะใช้เวลานานเท่าใด และภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 80 ปีนี้จะฟื้นตัวได้เมื่อไร
นอกจากนี้ กบข.ยังเพิ่มความถี่ในการติดตามภาวะความเสี่ยงของกองทุน รวมทั้งจัดทำแผนจำลองสถานการณ์วิกฤตต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบที่จะกระทบต่อการลงทุนของ กบข. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ และปรับกลยุทธ์เพื่อการบริหารความเสี่ยงไตรมาส 2 ปีนี้ โดยได้มีการปรับแผนการจัดสัดส่วนการลงทุนระยะยาว ปี 2552-2554 ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ กบข.เรียบร้อยแล้ว โดยได้มุ่งเน้นในการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงมากขึ้น เช่น ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล รวมทั้งมีการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว
นายวิสิฐ กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินของโลกและไทยปีนี้ว่า หน่วยงานหลักของประเทศต่างๆ และนักวิเคราะห์ทั่วไปมีความเห็นใกล้เคียงกันว่าปี 2552 ยังเป็นปีที่ตลาดการเงินและเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับความเสี่ยงและภาวะความผันผวนสูงเช่นเดียวกับปี 2551 โดยความเสี่ยงที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ การแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงินของประเทศพัฒนาแล้วว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ และจะใช้เวลานานเท่าใด และภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 80 ปีนี้จะฟื้นตัวได้เมื่อไร