นายไมเคิล คาซาชคิน ผู้อำนวยการบริหารกองทุนเพื่อต่อสู้กับโรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย กล่าวในพิธีเปิดการประชุมและนิทรรศการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ครั้งที่ 20 ว่า การยอมรับในสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้สารเสพติดถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ และการบรรเทาผลกระทบต่อสาธารณสุขจากการใช้สารเสพติด
นายพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย ระบุว่า การขาดความเข้าใจในการให้บริการ ลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ให้กับผู้ใช้สารเสพติดในประเทศไทย ส่งผลให้ปริมาณการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดพุ่งสูงถึงร้อยละ 30-50 ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดมากกว่า 10 ล้านคน ในจำนวนนี้ 2-3 ล้านคน ติดเชื้อ HIV จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน โดยเฉพาะในทวีปเอเชียมีผู้ติดเชื้อ HIV จากการใช้สารเสพติดแบบฉีดมากที่สุด ขณะเดียวกัน หลายประเทศในเอเชียซึ่งเคยใช้มาตรการด้านกฎหมายเข้ามาแก้ปัญหาสารเสพติด ได้เริ่มหันมาใช้กลยุทธ์เชิงสาธารณสุขมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยก่อนหน้านี้ได้รับเงินช่วยเหลือ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากกองทุนโลกในการจัดบริการป้องกันการติดเชื้อเอดส์กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มหญิงขายบริการ กลุ่มแรงงานอพยพ และกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด
นายพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย ระบุว่า การขาดความเข้าใจในการให้บริการ ลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด ให้กับผู้ใช้สารเสพติดในประเทศไทย ส่งผลให้ปริมาณการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดพุ่งสูงถึงร้อยละ 30-50 ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดมากกว่า 10 ล้านคน ในจำนวนนี้ 2-3 ล้านคน ติดเชื้อ HIV จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน โดยเฉพาะในทวีปเอเชียมีผู้ติดเชื้อ HIV จากการใช้สารเสพติดแบบฉีดมากที่สุด ขณะเดียวกัน หลายประเทศในเอเชียซึ่งเคยใช้มาตรการด้านกฎหมายเข้ามาแก้ปัญหาสารเสพติด ได้เริ่มหันมาใช้กลยุทธ์เชิงสาธารณสุขมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยก่อนหน้านี้ได้รับเงินช่วยเหลือ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากกองทุนโลกในการจัดบริการป้องกันการติดเชื้อเอดส์กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มหญิงขายบริการ กลุ่มแรงงานอพยพ และกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด