บรรดารัฐมนตรีจากชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมการประชุมบนเกาะบาหลี ของอินโดนีเซีย ในวันนี้ เพื่อหารือปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมือง และชะตากรรมของผู้ลักลอบเข้าเมืองชาวโรฮิงยา
การประชุมกระบวนการบาหลี ในระดับรัฐมนตรี จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ที่เมืองนูซา ดัว โดยมีอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพร่วมกับออสเตรเลีย และมีผู้แทนจากกว่า 60 ประเทศ เข้าร่วม นับเป็นการประชุมครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อหารือเรื่องปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมือง การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติ กระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซีย แสดงความหวังว่า กระบวนการบาหลีจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งชาติสมาชิกจะสามารถหาทางแก้ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองได้
รัฐบาลไทยได้เสนอให้การประชุมครั้งนี้ เป็นการเจรจากับพม่า และบังกลาเทศ ประเทศต้นทางของชาวโรฮิงยา แต่อินโดนีเซียได้ผลักดันให้ขยายการเจรจากับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้กรอบทำงานของกระบวนการบาหลี ซึ่งจัดการประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2545 เพื่อแก้ปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายจากอิรัก อิหร่าน และอัฟกานิสถาน
การประชุมกระบวนการบาหลี ในระดับรัฐมนตรี จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ที่เมืองนูซา ดัว โดยมีอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพร่วมกับออสเตรเลีย และมีผู้แทนจากกว่า 60 ประเทศ เข้าร่วม นับเป็นการประชุมครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อหารือเรื่องปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมือง การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติ กระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซีย แสดงความหวังว่า กระบวนการบาหลีจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งชาติสมาชิกจะสามารถหาทางแก้ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองได้
รัฐบาลไทยได้เสนอให้การประชุมครั้งนี้ เป็นการเจรจากับพม่า และบังกลาเทศ ประเทศต้นทางของชาวโรฮิงยา แต่อินโดนีเซียได้ผลักดันให้ขยายการเจรจากับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายใต้กรอบทำงานของกระบวนการบาหลี ซึ่งจัดการประชุมครั้งแรกเมื่อปี 2545 เพื่อแก้ปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายจากอิรัก อิหร่าน และอัฟกานิสถาน