ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ลงนามในสัญญาสวอปเงินตรากับธนาคารชาติของอังกฤษ, ญี่ปุ่น, สวิตเซอร์แลนด์ และธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือสถาบันการเงินของสหรัฐฯ
เม็ดเงินที่ธนาคารกลางทั้งสี่จะให้ภายใต้สัญญากับเฟดซึ่งจะหมดอายุในเดือนตุลาคมปีนี้ คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 290,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เฟดชี้แจงในคำแถลงว่า ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ,ธนาคารกลางแห่งยุโรป, เฟด, ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น, และธนาคารแห่งชาติสวิส, ได้ลงนามในสัญญาสวอปเงินตราระหว่างกัน "ซึ่งจะทำให้เฟดสามารถให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องในรูปของเงินตราต่างประเทศ แก่บรรดาสถาบันการเงินของสหรัฐฯได้"
"หากว่ามีความต้องการเม็ดเงินขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นสกุลยูโร, เยน, ปอนด์สเตอร์ลิง, หรือฟรังก์สวิส, เฟดก็สามารถจะดำเนินการได้โดยผ่านการสวอปภายใต้ข้อตกลงทำไว้กับธนาคารกลางต่าง ๆเหล่านี้"
ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้น ขณะที่ธนาคารกลางทั้งหลายกำลังพยายามผ่อนคลายความตึงตัวในการไหลเวียนของสภาพคล่อง รวมทั้งฟื้นฟูทำให้การกู้ยืมกลับเป็นปกติกันอีกครั้ง โดยมีเป้าหมายใหญ่ก็คือเร่งเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ระบบการเงินโลก ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจโลกที่กำลังดำดิ่งลงไปสู่ห้วงแห่งความถดถอยครั้งรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่มหาเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา
เม็ดเงินที่ธนาคารกลางทั้งสี่จะให้ภายใต้สัญญากับเฟดซึ่งจะหมดอายุในเดือนตุลาคมปีนี้ คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 290,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เฟดชี้แจงในคำแถลงว่า ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ,ธนาคารกลางแห่งยุโรป, เฟด, ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น, และธนาคารแห่งชาติสวิส, ได้ลงนามในสัญญาสวอปเงินตราระหว่างกัน "ซึ่งจะทำให้เฟดสามารถให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องในรูปของเงินตราต่างประเทศ แก่บรรดาสถาบันการเงินของสหรัฐฯได้"
"หากว่ามีความต้องการเม็ดเงินขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นสกุลยูโร, เยน, ปอนด์สเตอร์ลิง, หรือฟรังก์สวิส, เฟดก็สามารถจะดำเนินการได้โดยผ่านการสวอปภายใต้ข้อตกลงทำไว้กับธนาคารกลางต่าง ๆเหล่านี้"
ความเคลื่อนไหวคราวนี้บังเกิดขึ้น ขณะที่ธนาคารกลางทั้งหลายกำลังพยายามผ่อนคลายความตึงตัวในการไหลเวียนของสภาพคล่อง รวมทั้งฟื้นฟูทำให้การกู้ยืมกลับเป็นปกติกันอีกครั้ง โดยมีเป้าหมายใหญ่ก็คือเร่งเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ระบบการเงินโลก ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจโลกที่กำลังดำดิ่งลงไปสู่ห้วงแห่งความถดถอยครั้งรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่มหาเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา