น.พ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยผล สำรวจจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมสุขภาพจิต สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุคนไทย 1 ใน 5 มีปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะปัจจุบันในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเริ่มส่งผลกระทบอย่างรุนแรง จนน่าเป็นห่วงว่าจะเกิดภาวะซึมเศร้าและนำไปสู่การฆ่าตัวตาย
ทั้งนี้ เพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะหญิงที่ต้องรับภาระเป็นหัวหน้าครัวเรือน ขณะที่แนวทางการแก้ปัญหาจะต้องนำหลักคุณธรรม จริยธรรม และคำสอนทางศาสนามาใช้ รวมไปถึงการมีเวลาให้กับครอบครัวอย่างเพียงพอ หรือไปเที่ยวพักผ่อนเป็นประจำ จะทำให้สุขภาพจิตดีกว่ากลุ่มที่ไม่มีเวลาถึง 2 เท่า
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมสุขภาพจิต ยอมรับว่า ผู้มีอาชีพไม่มั่นคงทางรายได้ อาทิ กรรมกร จะมีความเสี่ยงสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ถึงประมาณ 3 เท่าด้วย
ทั้งนี้ เพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะหญิงที่ต้องรับภาระเป็นหัวหน้าครัวเรือน ขณะที่แนวทางการแก้ปัญหาจะต้องนำหลักคุณธรรม จริยธรรม และคำสอนทางศาสนามาใช้ รวมไปถึงการมีเวลาให้กับครอบครัวอย่างเพียงพอ หรือไปเที่ยวพักผ่อนเป็นประจำ จะทำให้สุขภาพจิตดีกว่ากลุ่มที่ไม่มีเวลาถึง 2 เท่า
อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมสุขภาพจิต ยอมรับว่า ผู้มีอาชีพไม่มั่นคงทางรายได้ อาทิ กรรมกร จะมีความเสี่ยงสุขภาพจิตสูงกว่ากลุ่มข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ถึงประมาณ 3 เท่าด้วย