นายอนุชา โมกขะเวช อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ในช่วงวันที่ 7 - 10 มีนาคมนี้ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีน แผ่ปกคลุมเข้ามาถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ความกดอากาศสูงจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออก และภาคกลาง ในระยะต่อไป ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนอบอ้าว ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น จึงขอเตือนประชาชนในหลายพื้นที่ให้ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพายุฤดูร้อนในช่วงนี้ ทั้งนี้ ได้สั่งการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เสี่ยงพายุฤดูร้อน 40 จังหวัด จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่ นายสมชาย ใบม่วง ผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา แนะนำประชาชนในการรับมือกับพายุฤดูร้อนว่า ให้ตรวจสอบสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยวิทยาเป็นประจำ และสังเกตท้องฟ้าว่ามีกลุ่มเมฆสีดำเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว กับมีลมกระโชกแรงพัดผ่านหรือไม่ โดยบางครั้งอาจมีฟ้าร้องและฟ้าแลบ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากำลังจะเกิดพายุฤดูร้อน ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนควรระมัดระวังคือ สำรวจที่พักอาศัยและซ่อมแซมในส่วนที่เสียหายให้มั่นคง ตัดกิ่งไม้บริเวณบ้าน เพื่อป้องกันอันตรายจากการหักโค่น หากเกิดพายุฤดูร้อน ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แจ้ง และไม่ควรใช้วิทยุหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะอาจเกิดฟ้าผ่าได้ สุดท้าย ขณะที่สัญจรบนถนน ให้หยุดรถรอพายุเคลื่อนที่ผ่านไป ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
ขณะที่ นายสมชาย ใบม่วง ผู้อำนวยการสำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา แนะนำประชาชนในการรับมือกับพายุฤดูร้อนว่า ให้ตรวจสอบสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยวิทยาเป็นประจำ และสังเกตท้องฟ้าว่ามีกลุ่มเมฆสีดำเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว กับมีลมกระโชกแรงพัดผ่านหรือไม่ โดยบางครั้งอาจมีฟ้าร้องและฟ้าแลบ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากำลังจะเกิดพายุฤดูร้อน ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนควรระมัดระวังคือ สำรวจที่พักอาศัยและซ่อมแซมในส่วนที่เสียหายให้มั่นคง ตัดกิ่งไม้บริเวณบ้าน เพื่อป้องกันอันตรายจากการหักโค่น หากเกิดพายุฤดูร้อน ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แจ้ง และไม่ควรใช้วิทยุหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะอาจเกิดฟ้าผ่าได้ สุดท้าย ขณะที่สัญจรบนถนน ให้หยุดรถรอพายุเคลื่อนที่ผ่านไป ซึ่งจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้