นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธีสัมมนาเครือข่ายสุขภาพ ตามโครงการพัฒนาแนวทางศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ โดยมีผู้นำศาสนาทุกศาสนาในพื้นที่จังหวัดยะลา เข้าร่วมสัมมนากว่า 1,000 คน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า ประชาชนในจังหวัดยะลากว่าร้อยละ 80 นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งวิถีชีวิตส่วนใหญ่ได้ยึดมั่นในหลักคำสอน และหลักปฏิบัติของศาสนาอย่างเคร่งครัด ดังนั้น ศาสนสถานจึงเป็นสถานที่สำคัญ และถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในชุมชน จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาบุคลากรที่ดูแล ศาสนสถานให้มีความรู้ในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ถูกหลักสุขาภิบาล และเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติทางศาสนา วิถีชีวิต สังคม และประเพณีภายใต้บริบทเฉพาะพื้นที่ โดยในส่วนของจังหวัดยะลา มีศาสนสถานรวมทั้งสิ้น จำนวน 602 แห่ง ประกอบด้วยมัสยิด 453 แห่ง วัด 43 แห่ง โบสถ์คริสต์ 5 แห่ง วัดจีน และมูลนิธิ 9 แห่ง วัดซิกข์ 1 แห่ง วัดญวน 1 แห่ง และสถาบันปอเนาะ จำนวน 90 แห่ง ซึ่งศาสนสถานทุกแห่งจะได้รับการส่งเสริมพัฒนาตามแนวทางศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาแนวทางศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพในครั้งนี้ เพื่อชี้แจงแนวทางในการพัฒนาแก่ผู้นำศาสนา และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อพัฒนาสู่ศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาศาสถานให้เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมสุขภาพ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ศาสนสถานและสถาบันปอเนาะ เป็นสถานที่ที่มีอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีมีมาตรฐาน ให้ประชาชนได้มาประกอบศาสนกิจอย่างมีความสุข และเป็นศูนย์กลางการให้บริการศึกษาในชุมชน และเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่อไป
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาศาสถานให้เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมสุขภาพ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ศาสนสถานและสถาบันปอเนาะ เป็นสถานที่ที่มีอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีมีมาตรฐาน ให้ประชาชนได้มาประกอบศาสนกิจอย่างมีความสุข และเป็นศูนย์กลางการให้บริการศึกษาในชุมชน และเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่อไป