น.พ.ภานุวัฒน์ ปานเกต ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วันนี้ ที่สวนสามพราน จ.นครปฐม ได้มีการจัดประชุมร่วมของผู้แทนองค์การอนามัยโลก และองค์กรผลักดันด้านการควบคุมยาสูบในกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น มองโกเลีย และพาเลา โดยมี นายอเล็ก พาดิลา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขฟิลิปปินส์ มาเข้าร่วมด้วย
ครั้งนี้ได้หารือถึงการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนดำเนินการตามมาตรา 5.3 ที่พุ่งเป้าไปที่การกันไม่ให้หน่วยงานของรัฐยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมใดๆ ของบริษัทบุหรี่ ห้ามประชาสัมพันธ์ หรือมีการรับบริจาค จากบริษัทบุหรี่ ซึ่งแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ จะได้นำไปใช้ในการควบคุมการบริโภคยาสูบทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งไทยตั้งเป้าจะได้แนวปฏิบัติ ในการป้องกันการแทรกแซงนโยบายสาธารณะ ด้านการควบคุมยาสูบจากธุรกิจยาสูบและองค์กรผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องประชาชนไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจยาสูบ และไม่ให้ธุรกิจยาสูบแอบแฝงเข้าร่วมสนับสนุนในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อมุ่งไปสู่การลดการบริโภคยาสูบในระยะยาว
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย แม้ที่ผ่านมาจะยึดหลักไม่ให้โรงงานยาสูบ หรือบริษัทบุหรี่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายควบคุมยาสูบ แต่มีสิ่งที่รัฐบาลไทยจะต้องดำเนินการอีกไม่น้อย ภายใต้ข้อตกลงมาตรา 5.3 อาทิ การประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานรับทราบถึงกลยุทธ์การแทรกแซงนโยบายของบริษัทบุหรี่ การออกกฎหมายเพื่อกำหนดให้บริษัทบุหรี่ ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านการค้าและการตลาดต่อรัฐบาล ซึ่งหลักฐานพบว่า ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบจากบริษัทบุหรี่ ทำให้อัตราการสูบบุหรี่ยังอยู่ในระดับที่สูง โดยอาเซียนมีผู้สูบบุหรี่รวม 125 ล้านคน หรือร้อยละ 10 ของผู้สูบบุหรี่ทั่วโลก ปัจจุบันนี้จำนวนผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ต่อปีในอินโดนีเซียเท่ากับ 427,000 คน มาเลเซีย 10,000 คน ฟิลิปปินส์ 87,000 คน เวียดนาม 40,000 คน และประเทศไทย 42,000 คน
ครั้งนี้ได้หารือถึงการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนดำเนินการตามมาตรา 5.3 ที่พุ่งเป้าไปที่การกันไม่ให้หน่วยงานของรัฐยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมใดๆ ของบริษัทบุหรี่ ห้ามประชาสัมพันธ์ หรือมีการรับบริจาค จากบริษัทบุหรี่ ซึ่งแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ จะได้นำไปใช้ในการควบคุมการบริโภคยาสูบทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งไทยตั้งเป้าจะได้แนวปฏิบัติ ในการป้องกันการแทรกแซงนโยบายสาธารณะ ด้านการควบคุมยาสูบจากธุรกิจยาสูบและองค์กรผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องประชาชนไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกิจยาสูบ และไม่ให้ธุรกิจยาสูบแอบแฝงเข้าร่วมสนับสนุนในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อมุ่งไปสู่การลดการบริโภคยาสูบในระยะยาว
ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทย แม้ที่ผ่านมาจะยึดหลักไม่ให้โรงงานยาสูบ หรือบริษัทบุหรี่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายควบคุมยาสูบ แต่มีสิ่งที่รัฐบาลไทยจะต้องดำเนินการอีกไม่น้อย ภายใต้ข้อตกลงมาตรา 5.3 อาทิ การประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานรับทราบถึงกลยุทธ์การแทรกแซงนโยบายของบริษัทบุหรี่ การออกกฎหมายเพื่อกำหนดให้บริษัทบุหรี่ ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านการค้าและการตลาดต่อรัฐบาล ซึ่งหลักฐานพบว่า ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบจากบริษัทบุหรี่ ทำให้อัตราการสูบบุหรี่ยังอยู่ในระดับที่สูง โดยอาเซียนมีผู้สูบบุหรี่รวม 125 ล้านคน หรือร้อยละ 10 ของผู้สูบบุหรี่ทั่วโลก ปัจจุบันนี้จำนวนผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ต่อปีในอินโดนีเซียเท่ากับ 427,000 คน มาเลเซีย 10,000 คน ฟิลิปปินส์ 87,000 คน เวียดนาม 40,000 คน และประเทศไทย 42,000 คน