ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้ยกประเด็นในเรื่องของผู้อพยพชาวโรฮิงยาขึ้นมาหารือ โดยได้แสดงความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่นายญาณ วิน รัฐมนตรีต่างประเทศของพม่า ได้อธิบายประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาวโรฮิงยาให้กับรัฐมนตรีต่างประเทศฟัง หลังจากนั้นรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียนพร้อมด้วย นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ได้ตกลงกันในเบื้องต้นว่าจะมีการประชุมแก้ปัญหาระหว่างบรรดาประเทศที่เกี่ยวข้องที่เกาะบาหลีของอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 14 - 15 เมษายนนี้ ซึ่งจะใช้กระบวนการบาหลี ในการแก้ปัญหา โดยการหารือร่วมกันเพื่อหามาตรการที่เป็นรูปธรรม เพื่อแก้ปัญหาในการลักลอบคนเข้าเมือง โดยจะมีอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย เป็นประธานร่วม โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2545 และมีประเทศเข้าร่วมทั้งหมด 50 ประเทศ ด้วยกัน
ส่วนกลไกขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ที่จะเป็นประเด็นหลักที่รัฐมนตรีต่างประเทศจะต้องหารือกันในวันนี้ ก็จะได้รับฟังรายงานของคณะกรรมการ ก่อนที่จะมีการหารือ และนำเสนอต่อไปในระดับการประชุมระดับผู้นำ ซึ่งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ถือเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นจากการที่ได้มีกฎบัตรอาเซียน และได้รับความสนใจจากภาคประชาชน ถึงความเป็นไปได้ในการที่จะจัดตั้ง เนื่องจากประเทศสมาชิกมีระบบการปกครองที่แตกต่างกัน รวมถึงหลักการเดิมที่อาเซียนยึดถือมาโดยตลอดในการที่จะไม่เข้าไปก้าวก่ายเรื่องภายในของประเทศสมาชิก
ส่วนกลไกขององค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ที่จะเป็นประเด็นหลักที่รัฐมนตรีต่างประเทศจะต้องหารือกันในวันนี้ ก็จะได้รับฟังรายงานของคณะกรรมการ ก่อนที่จะมีการหารือ และนำเสนอต่อไปในระดับการประชุมระดับผู้นำ ซึ่งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ถือเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นจากการที่ได้มีกฎบัตรอาเซียน และได้รับความสนใจจากภาคประชาชน ถึงความเป็นไปได้ในการที่จะจัดตั้ง เนื่องจากประเทศสมาชิกมีระบบการปกครองที่แตกต่างกัน รวมถึงหลักการเดิมที่อาเซียนยึดถือมาโดยตลอดในการที่จะไม่เข้าไปก้าวก่ายเรื่องภายในของประเทศสมาชิก