นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังการสัมมนาทวิภาคีร่วมหารือเพื่อหาทางออกวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อแรงงาน ว่าขณะนี้ทุกคนต้องยอมรับว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต เมื่อเกิดการชุมนุมประท้วงนายจ้างและลูกจ้างต้องเข้ามาร่วมกันเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมานายจ้างมักไม่ส่งผู้มีอำนาจตัดสินใจมาเจรจา ทำให้ปัญหาบานปลาย ขณะที่ผู้บริหารประเทศที่ผ่านมาไม่สนใจแก้ปัญหา จนกลายเป็นปัญหาการปิดโรงงานหรือปิดถนน ถึงจะมีการลงมาเจรจา ทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องหาทางแก้ไข
นายมนัส ยังกล่าวถึง มาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาทให้ผู้ประกันตนที่มีรายได้ไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือนนั้นแนะนำว่า ควรนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการลงทุนจ้างงานในชนบท เช่น การขุดบ่อน้ำ หรือจ้างงานในภาคเกษตรจะดีกว่า นอกจากนี้ ยังเกรงว่างบประมาณที่ใช้ในโครงการดังกล่าวจะบานปลาย เพราะผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท อาจมีมากถึง 10 ล้านคน ทำให้อาจมีการออกมาเรียกร้องสิทธิในการรับเงินเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันยังกังวลว่าเงินจำนวนนี้จะไม่ถึงมือผู้มีสิทธิได้รับจริง ๆ เนื่องจากลูกจ้างจำนวนมาก กว่าร้อยละ 70 ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้เช็กเงินสด และอาจมีการฉวยโอกาสตั้งโต๊ะรับซื้อเช็กในราคาที่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่จะได้รับ ซึ่งต้องจับตามองว่าอาจจะเกิดปัญหาเหล่านี้ในอนาคต
นายมนัส กล่าวอีกว่า วันแรงงานแห่งชาติ (1 พ.ค.) ในปีนี้สภาองค์การลูกจ้าง 7 แห่งมีมติร่วมกันว่าจะไม่มีการเรียกร้องขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่จะเรียกร้องขอสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้างแทน โดยจะมีการของบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 5,000 ล้านบาท ในการจัดตั้งกองทุนค่าชดเชยของลูกจ้าง เพื่อใช้จ่ายใน 4 กรณี ประกอบด้วย การนำเงินมาอุดหนุนบริษัทที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและใช้มาตรา 75 ให้คนงานหยุดงานชั่วคราว โดยจ่ายเงินเดือนร้อยละ 75 การจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างที่ถูกนายจ้างปิดกิจการแล้วหลบหนีไป การช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับเบี้ยเลี้ยงระหว่างการฝึกอบรมอาชีพและ การจัดทำฐานข้อมูลการว่างงานและการเลิกจ้างซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน
นายมนัส ยังกล่าวถึง มาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาทให้ผู้ประกันตนที่มีรายได้ไม่ถึง 15,000 บาทต่อเดือนนั้นแนะนำว่า ควรนำเงินส่วนนี้ไปใช้ในการลงทุนจ้างงานในชนบท เช่น การขุดบ่อน้ำ หรือจ้างงานในภาคเกษตรจะดีกว่า นอกจากนี้ ยังเกรงว่างบประมาณที่ใช้ในโครงการดังกล่าวจะบานปลาย เพราะผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท อาจมีมากถึง 10 ล้านคน ทำให้อาจมีการออกมาเรียกร้องสิทธิในการรับเงินเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันยังกังวลว่าเงินจำนวนนี้จะไม่ถึงมือผู้มีสิทธิได้รับจริง ๆ เนื่องจากลูกจ้างจำนวนมาก กว่าร้อยละ 70 ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้เช็กเงินสด และอาจมีการฉวยโอกาสตั้งโต๊ะรับซื้อเช็กในราคาที่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่จะได้รับ ซึ่งต้องจับตามองว่าอาจจะเกิดปัญหาเหล่านี้ในอนาคต
นายมนัส กล่าวอีกว่า วันแรงงานแห่งชาติ (1 พ.ค.) ในปีนี้สภาองค์การลูกจ้าง 7 แห่งมีมติร่วมกันว่าจะไม่มีการเรียกร้องขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่จะเรียกร้องขอสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้างแทน โดยจะมีการของบประมาณจากรัฐบาลจำนวน 5,000 ล้านบาท ในการจัดตั้งกองทุนค่าชดเชยของลูกจ้าง เพื่อใช้จ่ายใน 4 กรณี ประกอบด้วย การนำเงินมาอุดหนุนบริษัทที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและใช้มาตรา 75 ให้คนงานหยุดงานชั่วคราว โดยจ่ายเงินเดือนร้อยละ 75 การจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างที่ถูกนายจ้างปิดกิจการแล้วหลบหนีไป การช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างให้ได้รับเบี้ยเลี้ยงระหว่างการฝึกอบรมอาชีพและ การจัดทำฐานข้อมูลการว่างงานและการเลิกจ้างซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน