สถานการณ์ภัยแล้งในหลายจังหวัดเริ่มรุนแรง กระทบการเกษตรอย่างหนัก โดยที่เขื่อนวังร่มเกล้าขณะนี้ ปริมาณน้ำเหลือไม่มากนัก เพราะชาวนา จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ ต่างเร่งสูบน้ำเข้านากันให้มากที่สุด ขณะที่ท้ายเขื่อนน้ำแห้งขอดเป็นช่วงๆ แล้ว
ส่วนเขื่อนภูมิพล จ.ตาก อากาศร้อนจัดทำให้น้ำในเขื่อนระเหยไปวันละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่การระบายน้ำเพื่ออุปโภคและการเกษตร ทั้งเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ช่วงนี้มีเพิ่มขึ้น จึงเตือนประชาชนให้ช่วยกันประหยัดน้ำ และงดการปลูกข้าวนาปรังเพิ่ม
เช่นเดียวกับเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง แม่น้ำยังพอใช้ แต่ก็ขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัด
ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน และเจ้าพระยา ที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ ตอนนี้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแม่น้ำปิง ลดลงจนเห็นเนินทรายโผล่กลางแม่น้ำ สาเหตุเกิดจากการที่เกษตรกรเร่งสูบน้ำเข้าไร่นา
นอกจากนี้ ที่ จ.สกลนคร ก็ต้องประกาศให้ 16 อำเภอ เป็นเขตภัยพิบัติแล้ง แหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ เหลือน้ำเพียงร้อยละ 50 จนกระทั่งเกรงว่า จะมีน้ำใช้ไปไม่ถึงฤดูฝน
ส่วน จ.มุกดาหาร ภัยแล้งทำให้ชาวบ้านหมู่ 9 ต.โนนยาง อ.หนองสูง ได้รับความเดือดร้อน แม้ว่าทางอำเภอจะนำน้ำไปแจกแล้วก็ตาม เนื่องจากแหล่งน้ำทำน้ำประปานั้นแห้งขอด ชาวบ้านจึงต้องประหยัดน้ำโดยการอาบน้ำ 2 วัน ต่อ 1 ครั้ง ส่วนเสื้อผ้าที่ใส่แล้วจะนำไปพึ่งแดดแทน และ 3 วัน จึงจะนำไปซัก 1 ครั้ง เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ
ส่วนเขื่อนภูมิพล จ.ตาก อากาศร้อนจัดทำให้น้ำในเขื่อนระเหยไปวันละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่การระบายน้ำเพื่ออุปโภคและการเกษตร ทั้งเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ช่วงนี้มีเพิ่มขึ้น จึงเตือนประชาชนให้ช่วยกันประหยัดน้ำ และงดการปลูกข้าวนาปรังเพิ่ม
เช่นเดียวกับเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง แม่น้ำยังพอใช้ แต่ก็ขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัด
ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน และเจ้าพระยา ที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ ตอนนี้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะแม่น้ำปิง ลดลงจนเห็นเนินทรายโผล่กลางแม่น้ำ สาเหตุเกิดจากการที่เกษตรกรเร่งสูบน้ำเข้าไร่นา
นอกจากนี้ ที่ จ.สกลนคร ก็ต้องประกาศให้ 16 อำเภอ เป็นเขตภัยพิบัติแล้ง แหล่งกักเก็บน้ำต่างๆ เหลือน้ำเพียงร้อยละ 50 จนกระทั่งเกรงว่า จะมีน้ำใช้ไปไม่ถึงฤดูฝน
ส่วน จ.มุกดาหาร ภัยแล้งทำให้ชาวบ้านหมู่ 9 ต.โนนยาง อ.หนองสูง ได้รับความเดือดร้อน แม้ว่าทางอำเภอจะนำน้ำไปแจกแล้วก็ตาม เนื่องจากแหล่งน้ำทำน้ำประปานั้นแห้งขอด ชาวบ้านจึงต้องประหยัดน้ำโดยการอาบน้ำ 2 วัน ต่อ 1 ครั้ง ส่วนเสื้อผ้าที่ใส่แล้วจะนำไปพึ่งแดดแทน และ 3 วัน จึงจะนำไปซัก 1 ครั้ง เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ