ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงที่ 3 จ.นครสวรรค์ นำเครื่องบิน 4 ลำ บรรทุกสารเคมีกว่า 7 ตัน ขึ้นโปรยในพื้นที่ จ.อุทัยธานี ชัยนาท และนครสวรรค์ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสม และที่ผ่านมาได้รับการร้องขอจากชาวบ้านในพื้นที่ 3 จังหวัด ว่า แหล่งน้ำธรรมชาติเริ่มแห้ง ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ รวมทั้งเป็นการป้องกันการเกิดไฟป่า โดยเฉพาะป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี
ส่วนที่ จ.พิจิตร ชาวบ้านวังจิก อ.โพธิ์ประทับช้าง ช่วยกันขยายท่อประปาหมู่บ้าน เนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมแห้งจนไม่สามารถนำมาใช้ได้ ขณะที่คณะกรรมการหมู่บ้านอาจจะต้องควบคุมเวลาปิด-เปิด เพื่อให้ใช้น้ำได้อย่างทั่วถึง
เช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พิษณุโลก ที่เร่งนำน้ำกว่า 200,000 ลิตร ไปช่วยเหลือชาวบ้าน เพราะแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่งเริ่มแห้งขอด ล่าสุดได้ประกาศให้พื้นที่ อ.บางกระทุ่ม เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง ขณะที่อีกหลายอำเภอเข้าข่ายพื้นที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน
นางปิยะฉัตร อินสว่าง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครราชสีมา ทำหนังสือเวียนถึงเกษตรกรในอำเภอที่เสี่ยงเกิดภัยแล้ง เช่น ด่านขุนทด ห้วยแถลง โนนไทย โนนสูง ลำทะเมนชัย และ อ.พระทองคำ รวมทั้งพื้นที่นอกเขตชลประทาน เพื่อแจ้งเตือนให้ศึกษาปริมาณน้ำก่อนปลูกพืชในหน้าแล้ง
ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ รวมถึงเขื่อนขนาดใหญ่ใน จ.นครราชสีมา เช่น เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง ระดับน้ำยังเกินร้อยละ 50 ของความจุอ่าง จึงคาดว่าน่าจะเพียงพอสำหรับหน้าแล้ง
ขณะที่เกษตรกรใน ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม หันมาสร้างรายได้ในหน้าแล้งด้วยการปลูกแคนตาลูปสก๊อตช์ เนื่องจากเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะเก็บผลผลิตส่งขายได้เฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น
ส่วนที่ จ.พิจิตร ชาวบ้านวังจิก อ.โพธิ์ประทับช้าง ช่วยกันขยายท่อประปาหมู่บ้าน เนื่องจากน้ำในแม่น้ำยมแห้งจนไม่สามารถนำมาใช้ได้ ขณะที่คณะกรรมการหมู่บ้านอาจจะต้องควบคุมเวลาปิด-เปิด เพื่อให้ใช้น้ำได้อย่างทั่วถึง
เช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) พิษณุโลก ที่เร่งนำน้ำกว่า 200,000 ลิตร ไปช่วยเหลือชาวบ้าน เพราะแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่งเริ่มแห้งขอด ล่าสุดได้ประกาศให้พื้นที่ อ.บางกระทุ่ม เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง ขณะที่อีกหลายอำเภอเข้าข่ายพื้นที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน
นางปิยะฉัตร อินสว่าง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครราชสีมา ทำหนังสือเวียนถึงเกษตรกรในอำเภอที่เสี่ยงเกิดภัยแล้ง เช่น ด่านขุนทด ห้วยแถลง โนนไทย โนนสูง ลำทะเมนชัย และ อ.พระทองคำ รวมทั้งพื้นที่นอกเขตชลประทาน เพื่อแจ้งเตือนให้ศึกษาปริมาณน้ำก่อนปลูกพืชในหน้าแล้ง
ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ รวมถึงเขื่อนขนาดใหญ่ใน จ.นครราชสีมา เช่น เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง ระดับน้ำยังเกินร้อยละ 50 ของความจุอ่าง จึงคาดว่าน่าจะเพียงพอสำหรับหน้าแล้ง
ขณะที่เกษตรกรใน ต.นาทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม หันมาสร้างรายได้ในหน้าแล้งด้วยการปลูกแคนตาลูปสก๊อตช์ เนื่องจากเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะเก็บผลผลิตส่งขายได้เฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น