กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 13 กุมภาพันธ์ มีผู้ถูกเลิกจ้างแล้วประมาณ 13,000 คน เป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ที่มาใช้สิทธิ์เบิกเงินประกันการว่างงานกับสำนักงานประกันสังคม
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส. เปิดเผยว่า เดือนที่แล้วมีผู้ประกันตนใช้สิทธิ์ประกันการว่างงานสูงถึง 75,000 คน และเดือนนี้ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงเมื่อวาน(18 ก.พ.) มีผู้มาใช้สิทธิ์อีกกว่า 40,000 คน ซึ่งระยะเวลาเพียงแค่ 1 เดือนครึ่ง มีผู้ใช้สิทธิ์กว่า 100,000 คนแล้ว
ทั้งนี้ เหตุที่ตัวเลขของ 2 หน่วยงานไม่ตรงกัน เนื่องจากกรมกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเก็บข้อมูลเฉพาะผู้ที่ถูกเลิกจ้างเท่านั้น ส่วนการสมัครใจลาออกเองของลูกจ้าง จะทราบก็ต่อเมื่อมาใช้สิทธิ์ประกันการว่างงาน
สำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างผู้ประกันตนจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง คือ อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างงวดสุดท้าย เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่วนผู้ที่สมัครใจลาออกเองจะได้รับอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างงวดสุดท้าย เป็นระยะเวลา 3 เดือน
ส่วนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขยายการคุ้มครองประกันการว่างงานจากเดิม 6 เดือนมาเป็น 8 เดือนนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอประกาศเป็นกฎกระทรวง ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในต้นเดือนหน้า
นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส. เปิดเผยว่า เดือนที่แล้วมีผู้ประกันตนใช้สิทธิ์ประกันการว่างงานสูงถึง 75,000 คน และเดือนนี้ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงเมื่อวาน(18 ก.พ.) มีผู้มาใช้สิทธิ์อีกกว่า 40,000 คน ซึ่งระยะเวลาเพียงแค่ 1 เดือนครึ่ง มีผู้ใช้สิทธิ์กว่า 100,000 คนแล้ว
ทั้งนี้ เหตุที่ตัวเลขของ 2 หน่วยงานไม่ตรงกัน เนื่องจากกรมกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะเก็บข้อมูลเฉพาะผู้ที่ถูกเลิกจ้างเท่านั้น ส่วนการสมัครใจลาออกเองของลูกจ้าง จะทราบก็ต่อเมื่อมาใช้สิทธิ์ประกันการว่างงาน
สำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างผู้ประกันตนจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง คือ อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างงวดสุดท้าย เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่วนผู้ที่สมัครใจลาออกเองจะได้รับอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างงวดสุดท้าย เป็นระยะเวลา 3 เดือน
ส่วนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขยายการคุ้มครองประกันการว่างงานจากเดิม 6 เดือนมาเป็น 8 เดือนนั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอประกาศเป็นกฎกระทรวง ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในต้นเดือนหน้า