สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้เปิดเผยผลสำรวจความหวาดกลัว ต่ออาชญากรรมของคนเมือง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2449 คน พบว่า ส่วนใหญ่โดยเฉพาะเพศหญิงร้อยละ 74.8 หวาดกลัวอาชญากรรมในชุมชน ร้อยละ 62.1 ระบุว่า เคยมีประสบการณ์ถูกรบกวนทำให้เดือดร้อนรำคาญ และร้อยละ 55.6 ไม่พบตำรวจเข้ามาตรวจความปลอดภัยในช่วง 30 วันที่ถูกสำรวจ
ส่วนข่าวสารที่เกี่ยวกับภัยอาชญากรรมที่ได้รับจากสื่อร้อยละ 60.3 เป็นการฆาตกรรมข่มขืน รองลงมาเป็นร้อยละ 50.5 เป็นข่มขืนและจี้ปล้นร้อยละ 51.9
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยว่า ผลสำรวจสามารถบ่งชี้สภาวะไปถึงเศรษฐกิจที่ถดถอย และการเปลี่ยนถ่ายทางการเมือง ทำให้ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้น ความคิดในการวิจัยหัวข้อนี้ มีสืบเนื่องมาจากผลสำรวจของประชาชนในเดือนมกราคมที่พบว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนลดลง ส่วนหนึ่งมาจากความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ส่วนข่าวสารที่เกี่ยวกับภัยอาชญากรรมที่ได้รับจากสื่อร้อยละ 60.3 เป็นการฆาตกรรมข่มขืน รองลงมาเป็นร้อยละ 50.5 เป็นข่มขืนและจี้ปล้นร้อยละ 51.9
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยว่า ผลสำรวจสามารถบ่งชี้สภาวะไปถึงเศรษฐกิจที่ถดถอย และการเปลี่ยนถ่ายทางการเมือง ทำให้ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้น ความคิดในการวิจัยหัวข้อนี้ มีสืบเนื่องมาจากผลสำรวจของประชาชนในเดือนมกราคมที่พบว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนลดลง ส่วนหนึ่งมาจากความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน