ชาวบ้านจาก 12 หมู่บ้าน ใน ต.วังประจบ อ.เมืองตาก กำลังขาดน้ำดิบทำน้ำประปา เพราะแหล่งน้ำตามธรรมชาติได้แห้งขอด จนชาวบ้านต้องรอคิวซื้อน้ำจากพ่อค้าเร่ขนาดถังละ 200 ลิตร ในราคา 15 บาท แต่หากชุมชนใดที่อยู่ห่างไกลก็จะคิดราคาเพิ่มเป็นถังละ 20-25 บาท ซึ่งพ่อค้าเร่ระบุว่า ปีนี้ยอดขายน้ำดีกว่าทุกปี
นายชัยรัตน์ เหมือนพลอย หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า แม้ว่าปีนี้เขื่อนจะมีปริมาณน้ำมากกว่าปีก่อน แต่ต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างเป็นระบบ และขอให้เกษตรกรงดปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก
เช่นเดียวกับที่โครงการชลประทานพิจิตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำยม ใช้น้ำอย่างประหยัด และอย่าทำนาปรังรอบ 2 อีกทั้งยังประกาศให้ 4 อำเภอ เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะแห้งแล้ง
เกษตรกรผู้ปลูกและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับภายในศูนย์จำหน่ายดอกไม้ประดับ ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา แต่ละร้านต้องซื้อถังน้ำขนาดใหญ่ความจุ 1,000 ลิตร เพิ่มขึ้นอีก เพื่อนำไปเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งที่จะมาถึง เพราะช่วงหน้าร้อนต้องใช้น้ำรดต้นไม้กว่า 500 ลิตรต่อวัน โดยใช้บัวรดน้ำแทนรดน้ำจากสายยาง
ส่วนที่ จ.มุกดาหาร อากาศ ที่เริ่มร้อนและแห้งแล้ง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมที่บ้านโคกสูง และบ้านดอนม่วย ต.บางทรายใหญ่ ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำจากวันละ 6 ชั่วโมง เป็น 8 ชั่วโมง เพื่อใช้รดน้ำแตงโมทั้งหมด เพราะอากาศที่ร้อนจะทำให้น้ำระเหยเร็ว
ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกผักใน อ.เมือง และ อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช ไม่สามารถปลูกผัก ทั้งคะน้า พริก และพืชผัก ให้ทันส่งขายในเดือนเมษายน และพฤษภาคม เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้แห้งขอดลงเร็วกว่าทุกปี
นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งยังส่งผลต่อสำนักงานประปาคลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เนื่องจากขาดแคลนน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องแบ่งพื้นที่การจัดสรรน้ำออกเป็น 4 เขต แบบวันเว้นวัน ทำให้โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร อย่างเช่นโรงเรียนบ้านเนินตาล ต้องขอให้นักเรียนนำน้ำมาดื่มกินเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายค่าน้ำของโรงเรียน
นายชัยรัตน์ เหมือนพลอย หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า แม้ว่าปีนี้เขื่อนจะมีปริมาณน้ำมากกว่าปีก่อน แต่ต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างเป็นระบบ และขอให้เกษตรกรงดปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก
เช่นเดียวกับที่โครงการชลประทานพิจิตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำยม ใช้น้ำอย่างประหยัด และอย่าทำนาปรังรอบ 2 อีกทั้งยังประกาศให้ 4 อำเภอ เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะแห้งแล้ง
เกษตรกรผู้ปลูกและจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับภายในศูนย์จำหน่ายดอกไม้ประดับ ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา แต่ละร้านต้องซื้อถังน้ำขนาดใหญ่ความจุ 1,000 ลิตร เพิ่มขึ้นอีก เพื่อนำไปเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งที่จะมาถึง เพราะช่วงหน้าร้อนต้องใช้น้ำรดต้นไม้กว่า 500 ลิตรต่อวัน โดยใช้บัวรดน้ำแทนรดน้ำจากสายยาง
ส่วนที่ จ.มุกดาหาร อากาศ ที่เริ่มร้อนและแห้งแล้ง ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมที่บ้านโคกสูง และบ้านดอนม่วย ต.บางทรายใหญ่ ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำจากวันละ 6 ชั่วโมง เป็น 8 ชั่วโมง เพื่อใช้รดน้ำแตงโมทั้งหมด เพราะอากาศที่ร้อนจะทำให้น้ำระเหยเร็ว
ขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกผักใน อ.เมือง และ อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช ไม่สามารถปลูกผัก ทั้งคะน้า พริก และพืชผัก ให้ทันส่งขายในเดือนเมษายน และพฤษภาคม เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้แห้งขอดลงเร็วกว่าทุกปี
นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งยังส่งผลต่อสำนักงานประปาคลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เนื่องจากขาดแคลนน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องแบ่งพื้นที่การจัดสรรน้ำออกเป็น 4 เขต แบบวันเว้นวัน ทำให้โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร อย่างเช่นโรงเรียนบ้านเนินตาล ต้องขอให้นักเรียนนำน้ำมาดื่มกินเอง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายค่าน้ำของโรงเรียน