ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ อียู และญี่ปุ่นที่ถดถอย ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าจาก 3 ประเทศลดลง รวมถึงการบริโภคทั่วโลกที่ชะลอตัว จะส่งผลกระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยมีการแบ่งสมมติฐานเป็น 3 กรณี
กรณีแรก เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง ประกอบกับประเทศไทยมีเสถียรภาพทางการเมือง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเห็นผลในครึ่งปีหลัง จะทำให้จีดีพีของไทยทั้งปีอยู่ที่ ติดลบร้อยละ 1 และมีคนว่างงาน 900,000-1,200,000 คน กรณีที่สอง เศรษฐกิจโลกจะฟื้นในกลางปีนี้ และการเมืองมีเสถียรภาพจะทำให้จีดีพีของไทยติดลบร้อยละ 2.8 กรณีสุดท้าย คือ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในปีหน้า และไทยไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 0.8
ทั้งนี้ กรณีแรกมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด ซึ่งหากจีดีพีของไทยติดลบร้อยละ 1 จริง ก็จะเป็นตัวเลขที่ถดถอยมากที่สุดครั้งแรกในรอบ 10 ปี ส่วนภาพรวมของคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศต่างๆ จะทำให้การส่งออกของไทยในปีหน้าติดลบที่ ร้อยละ 5-6 ส่วนการท่องเที่ยวจะชะลอตัวลง ร้อยละ 5-10 ทำให้ประเทศไทยขาดรายได้เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 400,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน ควรลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 1 เมื่ออัตราเงินเฟ้อใกล้ถึง 0 เพราะไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจไทยจะพบกับปัญหาเงินฝืดได้
ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กลับมองว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 0-2 โดยให้เหตุผลว่า ทั่วโลกกำลังใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และอัดฉีดเงินเข้าระบบ ส่วนไทยยังมีช่องว่างในการเบิกจ่ายเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินจากในประเทศ เพื่อชดเชยการดุลงบการคลัง นำเงินมาใช้ในรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการกู้เงินจากต่างประเทศ
กรณีแรก เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง ประกอบกับประเทศไทยมีเสถียรภาพทางการเมือง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเห็นผลในครึ่งปีหลัง จะทำให้จีดีพีของไทยทั้งปีอยู่ที่ ติดลบร้อยละ 1 และมีคนว่างงาน 900,000-1,200,000 คน กรณีที่สอง เศรษฐกิจโลกจะฟื้นในกลางปีนี้ และการเมืองมีเสถียรภาพจะทำให้จีดีพีของไทยติดลบร้อยละ 2.8 กรณีสุดท้าย คือ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในปีหน้า และไทยไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 0.8
ทั้งนี้ กรณีแรกมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด ซึ่งหากจีดีพีของไทยติดลบร้อยละ 1 จริง ก็จะเป็นตัวเลขที่ถดถอยมากที่สุดครั้งแรกในรอบ 10 ปี ส่วนภาพรวมของคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศต่างๆ จะทำให้การส่งออกของไทยในปีหน้าติดลบที่ ร้อยละ 5-6 ส่วนการท่องเที่ยวจะชะลอตัวลง ร้อยละ 5-10 ทำให้ประเทศไทยขาดรายได้เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 400,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน ควรลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 1 เมื่ออัตราเงินเฟ้อใกล้ถึง 0 เพราะไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจไทยจะพบกับปัญหาเงินฝืดได้
ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กลับมองว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะเติบโตได้ที่ร้อยละ 0-2 โดยให้เหตุผลว่า ทั่วโลกกำลังใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และอัดฉีดเงินเข้าระบบ ส่วนไทยยังมีช่องว่างในการเบิกจ่ายเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินจากในประเทศ เพื่อชดเชยการดุลงบการคลัง นำเงินมาใช้ในรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการกู้เงินจากต่างประเทศ