น.พ.ยอร์น จิระนคร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า แม้ขณะนี้ยังเป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ แต่ปริมาณฝนเริ่มเบาบางลง หลังจากตกกระหน่ำมาตลอด ทำให้หลายพื้นที่มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา โดยปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1-26 มกราคม พบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 46 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 5-9 ปี พื้นที่พบการระบาดมากคือ อ.เมือง รองลงมา อ.หนองจิก ส่วนโรคชิคุนกุนยาช่วงวันที่ 1-19 มกราคม พบผู้ป่วย 74 ราย อายุระหว่าง 45 -54 ปี เป็นหญิงมากกว่าชาย อาชีพที่พบมาก คือ เกษตรกร
สำหรับโรคชิคุนกุนยาอาการไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเหมือนกับไข้เลือดออก แต่มีอาการคล้ายกัน คือเป็นไข้ มีผื่นแดง และจะมีอาการปวดข้อตามร่างกายร่วมด้วยในผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ขณะที่ไข้เลือดออกผู้ป่วยจะมีไข้สูงถึง 38-40 องศาเซลเซียส ตลอด 2 ถึง 7 วัน หากปล่อยไว้อาจช็อคหมดสติและเสียชีวิตได้
สำหรับโรคชิคุนกุนยาอาการไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเหมือนกับไข้เลือดออก แต่มีอาการคล้ายกัน คือเป็นไข้ มีผื่นแดง และจะมีอาการปวดข้อตามร่างกายร่วมด้วยในผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ขณะที่ไข้เลือดออกผู้ป่วยจะมีไข้สูงถึง 38-40 องศาเซลเซียส ตลอด 2 ถึง 7 วัน หากปล่อยไว้อาจช็อคหมดสติและเสียชีวิตได้