ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศิริ นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ประเมินสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า หากดูจากนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเป็นหลัก และครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา เชื่อว่าสถานการณ์ความรุนแรงจะลดระดับลงภายในระยะเวลา 5-10 ปี เพราะจากสถิติ 4 ปีที่แล้ว สถานการณ์วรุนแรงลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเกิดเหตุการณ์ 718 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าประชาชนในพื้นที่เริ่มพอใจและเชื่อมั่นในแนวทางการแก้ปัญหาของภาครัฐ
แต่ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ รัฐบาล ทหาร ฝ่ายปกครอง รวมถึงภาคครัวเรือน จะต้องมีแนวทางที่สอดคล้องกัน อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สิ่งที่จะต้องระวังมากที่สุดคือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะความรู้สึกในแง่ลบ เพราะจากการทำวิจัยภายในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าประเด็นหลักคือประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่ไว้วางใจในตัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และฝ่ายปกครอง
แต่ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ รัฐบาล ทหาร ฝ่ายปกครอง รวมถึงภาคครัวเรือน จะต้องมีแนวทางที่สอดคล้องกัน อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สิ่งที่จะต้องระวังมากที่สุดคือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะความรู้สึกในแง่ลบ เพราะจากการทำวิจัยภายในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าประเด็นหลักคือประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่ไว้วางใจในตัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และฝ่ายปกครอง