นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการการเกษตร เปิดเผยว่า จากการเก็บตัวอย่างปุ๋ยที่มีจำหน่ายในท้องตลาดกว่า 300 ตัวอย่างในพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือ พบว่ากว่าร้อยละ 90 เป็นปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน และปุ๋ยไม่เต็มสูตร โดยเฉพาะสูตร 15 -15 -15 พบการปลอมปนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ในการบำรุงไม้ผล โดยในขณะนี้ได้สั่งดำเนินการพักใบอนุญาตผู้ผลิต และจำหน่ายแล้ว 22 ราย สั่งปิดกิจการ 2 ราย และดำเนินคดีกับร้านที่จัดจำหน่าย 200 ร้าน
ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ปุ๋ยปลอมระบาดในระยะนี้ มาจากผู้ประกอบการได้นำเข้าแม่ปุ๋ยจากต่างประเทศในช่วงที่ราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้น แต่หลังจากราคาปรับลดลง ทำให้ขาดทุน จึงทำให้ต้องผสมปุ๋ยแบบไม่เต็มสูตรออกจำหน่ายเพื่อชดเชย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย ที่ทำแบบฉาบฉวย โดยในขณะนี้ได้ประสานไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ให้ตรวจสอบเส้นทางการฟอกเงินของผู้ประกอบการเหล่านี้แล้ว
ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ปุ๋ยปลอมระบาดในระยะนี้ มาจากผู้ประกอบการได้นำเข้าแม่ปุ๋ยจากต่างประเทศในช่วงที่ราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้น แต่หลังจากราคาปรับลดลง ทำให้ขาดทุน จึงทำให้ต้องผสมปุ๋ยแบบไม่เต็มสูตรออกจำหน่ายเพื่อชดเชย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย ที่ทำแบบฉาบฉวย โดยในขณะนี้ได้ประสานไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ให้ตรวจสอบเส้นทางการฟอกเงินของผู้ประกอบการเหล่านี้แล้ว