หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งก่อน ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุดถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 2.75 เปอร์เซ็นต์ วันนี้ กนง.จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า หากปรับอัตราดอกเบี้ยได้อีก 0.5 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น เพราะว่ามีปัจจัยเกื้อหนุน โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งก็จะเห็นผลได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งก็จะทำให้ทั้งปีเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความมั่นใจของประชาชนด้วย หากมีความกังวลและไม่จับจ่ายใช้สอย หรือธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้ก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมาย
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า การประชุม กนง.วันนี้ก็จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกประมาณ 0.5-0.75 เปอร์เซ็นต์ และก็จะทยอยปรับลดลงอีกรวม 1.5 เปอร์เซ็นต์ในช่วงกลางปี ซึ่งก็จะช่วยลดภาระต้นทุนผู้ประกอบการ และสอดคล้องกับหลายประเทศที่ปรับลดดอกเบี้ยแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อลดผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำยาวนาน
ทั้งนี้การผ่อนปรนนโยบายการเงิน โดยการปรับลดดอกเบี้ยควบคู่กับการใช้นโยบายทางการคลัง โดยการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่เป็นแนวทางที่เหมาะสม แต่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องดูแลปัญหาสภาพคล่อง และการปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า หากปรับอัตราดอกเบี้ยได้อีก 0.5 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น เพราะว่ามีปัจจัยเกื้อหนุน โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งก็จะเห็นผลได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งก็จะทำให้ทั้งปีเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความมั่นใจของประชาชนด้วย หากมีความกังวลและไม่จับจ่ายใช้สอย หรือธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้ก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมาย
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า การประชุม กนง.วันนี้ก็จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกประมาณ 0.5-0.75 เปอร์เซ็นต์ และก็จะทยอยปรับลดลงอีกรวม 1.5 เปอร์เซ็นต์ในช่วงกลางปี ซึ่งก็จะช่วยลดภาระต้นทุนผู้ประกอบการ และสอดคล้องกับหลายประเทศที่ปรับลดดอกเบี้ยแล้วก่อนหน้านี้ เพื่อลดผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำยาวนาน
ทั้งนี้การผ่อนปรนนโยบายการเงิน โดยการปรับลดดอกเบี้ยควบคู่กับการใช้นโยบายทางการคลัง โดยการอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่เป็นแนวทางที่เหมาะสม แต่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องดูแลปัญหาสภาพคล่อง และการปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs