หลังจากที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกาศมาตรการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว โดยนำร่องในพื้นที่อุทยานแห่งชาติชั้นนำ 10 แห่ง และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ช่วงวันหยุดยาวปีใหม่ที่ผ่านมากลับไม่สามารถควบคุมจำนวนได้ ทางอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ต้องรองรับนักท่องเที่ยวแบบไป-กลับ ถึงวันละประมาณ 20,000 คน โดยมีนักท่องเที่ยวพักค้างแรมถึงวันละ 5,000 คน ขณะที่ศักยภาพในการรองรับด้วยอาคารที่พักได้แค่ 550 คน พื้นที่กางเต็นท์ 2 แห่ง คือ บริเวณผากล้วยไม้ และลำตะคอง รวมแล้วได้เพียง 1,400 คน เท่านั้น จนต้องเปิดสถานที่กางเต็นท์รองรับขึ้นอีก 2 แห่ง
โดยนายมาโนช การพนักงาน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บอกว่า จะขออนุมัติกรมอุทยานเปิด 2 จุดนี้ เป็นที่กางเต็นท์รองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มเฉพาะช่วงเทศกาล โดยบริเวณค่ายสุรัสวดีจะรองรับนักท่องเที่ยวได้ 1,000-1,500 คน และบริเวณสนามกอล์ฟเก่า พื้นที่ 3 หลุมแรก รองรับได้อีกประมาณ 2,000 คน และจะมีการก่อสร้างห้องน้ำให้เพียงพอ ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบอะไร
ขณะที่นายสุรพล ดวงแข ประธานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย เห็นว่า ควรควบคุมปัญหาเดิมให้ได้ ก่อนจะรับนักท่องเที่ยวเพิ่ม โดยเฉพาะผลกระทบต่อสัตว์ป่า ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างทำให้ขาดหายไปจากระบบนิเวศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพป่าโดยรวม
ทั้งนี้ บริเวณสนามกอล์ฟเก่า เดิมทีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสร้างไว้เมื่อ 20 ปีก่อน แต่การให้บริการมีขยะและน้ำเสีย จนเกิดผลกระทบต่อสัตว์ป่า คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้รื้อถอนออกไปเมื่อปี 2534 จนฟื้นสภาพเป็นทุ่งหญ้า มีศักยภาพเพียงพอที่จะฟื้นตัวเป็นผืนป่าต่อไป ประธานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย เกรงว่า หากนำกลับไปเป็นที่รองรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง อาจเกิดปัญหาซ้ำรอย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวอาจจะได้รับอันตรายจากช้างป่า เสือ และลิง ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้นด้วย
โดยนายมาโนช การพนักงาน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บอกว่า จะขออนุมัติกรมอุทยานเปิด 2 จุดนี้ เป็นที่กางเต็นท์รองรับนักท่องเที่ยวเพิ่มเฉพาะช่วงเทศกาล โดยบริเวณค่ายสุรัสวดีจะรองรับนักท่องเที่ยวได้ 1,000-1,500 คน และบริเวณสนามกอล์ฟเก่า พื้นที่ 3 หลุมแรก รองรับได้อีกประมาณ 2,000 คน และจะมีการก่อสร้างห้องน้ำให้เพียงพอ ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบอะไร
ขณะที่นายสุรพล ดวงแข ประธานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย เห็นว่า ควรควบคุมปัญหาเดิมให้ได้ ก่อนจะรับนักท่องเที่ยวเพิ่ม โดยเฉพาะผลกระทบต่อสัตว์ป่า ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างทำให้ขาดหายไปจากระบบนิเวศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพป่าโดยรวม
ทั้งนี้ บริเวณสนามกอล์ฟเก่า เดิมทีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสร้างไว้เมื่อ 20 ปีก่อน แต่การให้บริการมีขยะและน้ำเสีย จนเกิดผลกระทบต่อสัตว์ป่า คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้รื้อถอนออกไปเมื่อปี 2534 จนฟื้นสภาพเป็นทุ่งหญ้า มีศักยภาพเพียงพอที่จะฟื้นตัวเป็นผืนป่าต่อไป ประธานเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย เกรงว่า หากนำกลับไปเป็นที่รองรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง อาจเกิดปัญหาซ้ำรอย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวอาจจะได้รับอันตรายจากช้างป่า เสือ และลิง ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้นด้วย