ญี่ปุ่นแถลงวันพฤหัสบดี(25)ว่า กำลังพิจารณาที่จะส่งเรือพิฆาต 1 ลำไปยังน่านน้ำนอกชายฝั่งโซมาเลีย เพื่อคุ้มครองเรือพาณิชย์ต่างๆ และต่อสู้ปราบปรามพวกโจรสลัด ซึ่งกำลังสร้างภาระต้นทุนสูงลิ่วให้แก่อุตสาหกรรมเดินเรือทะเลของโลก
เวลานี้มีประเทศต่างๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จัดส่งเรือรบไปต่อสู้กับพวกโจรสลัด ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในน่านน้ำใกล้ๆ โซมาเลีย ประเทศในแอฟริกาตะวันออกซึ่งอยู่ในสภาพไม่มีผู้ปกครองที่สามารถดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย โดยที่จีน ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านและบางครั้งก็เป็นคู่แข่งของญี่ปุ่น กำหนดจะส่งเรือพิฆาต 2 ลำ และเรือสนับสนุนอีก 1 ลำไปที่นั่นในวันศุกร์(26) ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่เรือรบจีนไปปฏิบัติภารกิจที่อาจเกิดการสู้รบในบริเวณไกลโพ้นจากน่านน้ำของตนเอง
"ญี่ปุ่นต้องจัดการกับประเด็นปัญหานี้โดยเร็ว" เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทาเคโอะ คาวามุระ กล่าวต่อที่ประชุมแถลงข่าว ในระบบการเมืองของญี่ปุ่นนั้น เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งทรงอิทธิพลยิ่งในคณะรัฐบาลรองจากนายกรัฐมนตรีเท่านั้น อีกทั้งทำหน้าที่เป็นโฆษกรัฐบาลด้วย
อย่างไรก็ตาม การที่ญี่ปุ่นจะส่งเรือรบไปต่างแดนเช่นนี้ ยังมีอุปสรรคข้อติดขัดทางกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายหลายๆ ฉบับที่ร่างขึ้นภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญฉบับสันติภาพซึ่งใช้มาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ระบุว่ากองทัพเรือสามารถคุ้มครองเฉพาะเรือที่ชักธงญี่ปุ่น หรือบรรทุกคนสัญชาติญี่ปุ่นเท่านั้น
เวลานี้มีประเทศต่างๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จัดส่งเรือรบไปต่อสู้กับพวกโจรสลัด ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในน่านน้ำใกล้ๆ โซมาเลีย ประเทศในแอฟริกาตะวันออกซึ่งอยู่ในสภาพไม่มีผู้ปกครองที่สามารถดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย โดยที่จีน ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านและบางครั้งก็เป็นคู่แข่งของญี่ปุ่น กำหนดจะส่งเรือพิฆาต 2 ลำ และเรือสนับสนุนอีก 1 ลำไปที่นั่นในวันศุกร์(26) ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่เรือรบจีนไปปฏิบัติภารกิจที่อาจเกิดการสู้รบในบริเวณไกลโพ้นจากน่านน้ำของตนเอง
"ญี่ปุ่นต้องจัดการกับประเด็นปัญหานี้โดยเร็ว" เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทาเคโอะ คาวามุระ กล่าวต่อที่ประชุมแถลงข่าว ในระบบการเมืองของญี่ปุ่นนั้น เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งทรงอิทธิพลยิ่งในคณะรัฐบาลรองจากนายกรัฐมนตรีเท่านั้น อีกทั้งทำหน้าที่เป็นโฆษกรัฐบาลด้วย
อย่างไรก็ตาม การที่ญี่ปุ่นจะส่งเรือรบไปต่างแดนเช่นนี้ ยังมีอุปสรรคข้อติดขัดทางกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายหลายๆ ฉบับที่ร่างขึ้นภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญฉบับสันติภาพซึ่งใช้มาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ระบุว่ากองทัพเรือสามารถคุ้มครองเฉพาะเรือที่ชักธงญี่ปุ่น หรือบรรทุกคนสัญชาติญี่ปุ่นเท่านั้น