รศ.วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการเลือกตั้ง ซึ่งเพิ่งผ่านไปไม่นาน ทำให้ความสนใจของประชาชนและความตื่นตัวในภาพรวมอาจจะยังดูน้อยไป แต่ผู้จัดการเลือกตั้งคือ กรุงเทพมหานคร ก็พยายามรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ เพราะครั้งที่ผ่านมา มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เพียงกว่าร้อยละ 50
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าบทบาทในการเลือกตั้งของผู้สมัครครั้งนี้มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ผู้สมัครแต่ละคนพยายามนำเสนอนโยบายมากขึ้น และเป็นนโยบายที่ไม่ฟุ้งกระจาย มีรูปธรรมและอยู่ในขอบเขตที่อยู่ในวิสัยที่ผู้ว่าฯ กทม.จะทำได้มากขึ้น แต่สิ่งสำคัญวันนี้คือ ประชาชนใน กทม.ต้องตื่นตัวและรับฟัง เพราะมีเหตุการณ์อื่นๆ ที่ใหญ่กว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เช่น รัฐบาลใหม่ การเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ทำให้การเลือกตั้ง กทม.อาจจะด้อยลงไป แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ยังมีความจำเป็นมาก เพราะต้องไปดูแลงบประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท และดูแลความเป็นอยู่ประชาชนในทุกเรื่อง เพราะฉะนั้น ยังมีความจำเป็นที่ชาวกรุงเทพฯ ควรจะได้ร่วมคัดกรองบุคคลที่มีความเหมาะสมเข้าไปทำงานให้ได้มากขึ้น
ส่วนเรื่องการจัดบริการสถานที่และอำนวยความสะดวกให้ผู้สมัครในการเปิดเวทีอภิปรายนั้น รศ.วุฒิสาร กล่าวว่า เป็นบทบาทของกรรมการการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) ที่จะต้องจัดเวทีตามกฎหมายว่าจะเปิดโอกาสให้ใครเข้ามา แต่เห็นเวทีการหาเสียงวันนี้ เฉพาะสื่อกับองค์กรต่างๆ มีมากพอสมควร ผู้สมัครออกรายการแทบทุกวันและสื่อสารออกไป เพียงแต่ความครอบคลุมในโอกาสแต่ละคนจะเท่ากันหรือไม่ ซึ่งเป็นสิทธิของผู้จัด แต่เมื่อใดก็ตามที่จัดโดยผู้จัดการการเลือกตั้งของ กกต.กทม.ก็คงต้องเปิดโอกาสให้เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าบทบาทในการเลือกตั้งของผู้สมัครครั้งนี้มีพัฒนาการเพิ่มขึ้น ผู้สมัครแต่ละคนพยายามนำเสนอนโยบายมากขึ้น และเป็นนโยบายที่ไม่ฟุ้งกระจาย มีรูปธรรมและอยู่ในขอบเขตที่อยู่ในวิสัยที่ผู้ว่าฯ กทม.จะทำได้มากขึ้น แต่สิ่งสำคัญวันนี้คือ ประชาชนใน กทม.ต้องตื่นตัวและรับฟัง เพราะมีเหตุการณ์อื่นๆ ที่ใหญ่กว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เช่น รัฐบาลใหม่ การเลือกตั้งซ่อม ส.ส. ทำให้การเลือกตั้ง กทม.อาจจะด้อยลงไป แต่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ยังมีความจำเป็นมาก เพราะต้องไปดูแลงบประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท และดูแลความเป็นอยู่ประชาชนในทุกเรื่อง เพราะฉะนั้น ยังมีความจำเป็นที่ชาวกรุงเทพฯ ควรจะได้ร่วมคัดกรองบุคคลที่มีความเหมาะสมเข้าไปทำงานให้ได้มากขึ้น
ส่วนเรื่องการจัดบริการสถานที่และอำนวยความสะดวกให้ผู้สมัครในการเปิดเวทีอภิปรายนั้น รศ.วุฒิสาร กล่าวว่า เป็นบทบาทของกรรมการการเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) ที่จะต้องจัดเวทีตามกฎหมายว่าจะเปิดโอกาสให้ใครเข้ามา แต่เห็นเวทีการหาเสียงวันนี้ เฉพาะสื่อกับองค์กรต่างๆ มีมากพอสมควร ผู้สมัครออกรายการแทบทุกวันและสื่อสารออกไป เพียงแต่ความครอบคลุมในโอกาสแต่ละคนจะเท่ากันหรือไม่ ซึ่งเป็นสิทธิของผู้จัด แต่เมื่อใดก็ตามที่จัดโดยผู้จัดการการเลือกตั้งของ กกต.กทม.ก็คงต้องเปิดโอกาสให้เท่ากัน