ราคาน้ำมันดิ่งลงกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ แตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปีกว่าเมื่อวันพุธ(17) แม้ว่าโอเปกแถลงลดกำลังผลิตมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่นักลงทุนมองว่าไม่เพียงพอต่อภาวะอุปสงค์พลังงานโลกที่กำลังหดตัวลงเรื่อยๆ
ระหว่างการซื้อขายในช่วงเวลา 19.30 จีเอ็มที (02.30 น.ตามเวลาในเมือง)สัญญาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนมกราคมที่มีกำหนดหมดอายุลงในวันศุกร์(19) นี้ ดิ่งลงไปถึง 3.61 ดอลลาร์อยู่ที่ 39.99 ดอลลาร์ ถือเป็นการลงไปต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2004 ก่อนปรับตัวขึ้นมาและปิดตลาดที่ 40.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ร่วงลง 3.54 ดอลลาร์
ขณะที่น้ำมันดิบชนิดเบรนต์ของลอนดอน งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ร่วงลงไป 1.12 ดอลลาร์ ปิดที่ 45.53 ดอลลาร์
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)ซึ่งพยายามฉุดราคาให้กระเตื้องขึ้น แถลงเมื่อวันพุธ(17) บรรลุข้อตกลงลดกำลังผลิต 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม โดยถือนับเป็นการลดกำลังผลิตในครั้งเดียวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ข้อตกลงลดกำลังผลิตหนนี้สูงกว่าที่คาดกันไว้เล็กน้อยและจะถูกบวกเข้าไปเพิ่มกับมติเดิมที่ลดกำลังผลิตไปแล้ว 2 ล้านบาร์เรลต่อวันตั้งแต่เดือนกันยายน ทว่าผู้ค้าน้ำมันที่พุ่งเป้าไปที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย กลับมีปฏิกิริยาไม่แยแสต่อมาตรการดังกล่าวของโอเปก
ระหว่างการซื้อขายในช่วงเวลา 19.30 จีเอ็มที (02.30 น.ตามเวลาในเมือง)สัญญาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนมกราคมที่มีกำหนดหมดอายุลงในวันศุกร์(19) นี้ ดิ่งลงไปถึง 3.61 ดอลลาร์อยู่ที่ 39.99 ดอลลาร์ ถือเป็นการลงไปต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2004 ก่อนปรับตัวขึ้นมาและปิดตลาดที่ 40.06 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ร่วงลง 3.54 ดอลลาร์
ขณะที่น้ำมันดิบชนิดเบรนต์ของลอนดอน งวดส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ร่วงลงไป 1.12 ดอลลาร์ ปิดที่ 45.53 ดอลลาร์
องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)ซึ่งพยายามฉุดราคาให้กระเตื้องขึ้น แถลงเมื่อวันพุธ(17) บรรลุข้อตกลงลดกำลังผลิต 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม โดยถือนับเป็นการลดกำลังผลิตในครั้งเดียวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
ข้อตกลงลดกำลังผลิตหนนี้สูงกว่าที่คาดกันไว้เล็กน้อยและจะถูกบวกเข้าไปเพิ่มกับมติเดิมที่ลดกำลังผลิตไปแล้ว 2 ล้านบาร์เรลต่อวันตั้งแต่เดือนกันยายน ทว่าผู้ค้าน้ำมันที่พุ่งเป้าไปที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย กลับมีปฏิกิริยาไม่แยแสต่อมาตรการดังกล่าวของโอเปก