นายฉัตรชัย ชัยวิเศษ นายกสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน กล่าวว่า การที่คณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง มีมติให้รถโดยสารร่วมบริการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ลดค่าโดยสารลงตามราคาน้ำมันนั้น แม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องยอมรับมติดังกล่าว
ส่วนแนวโน้มจะมีการลดค่าโดยสารลงอีกหากราคาน้ำมันลดลงในอนาคตนั้น นายฉัตรชัย กล่าวว่า กลุ่มผู้ประกอบการไม่เห็นด้วย แม้ราคาน้ำมันจะลดลง แต่ผู้ประกอบการที่มีรถร่วมรวมกัน จำนวน 3,493 คัน กว่าร้อยละ 90 เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์เอ็นจีวี ซึ่งต้องสั่งนำเข้ารถมาจากต่างประเทศและต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินรวมแล้ว 2,000 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ประมาณ 2-3 ปีต่อราย และรายจ่ายที่เป็นต้นทุนก็ไม่ใช่เฉพาะราคาน้ำมัน แต่ยังมีค่าสึกหรอ ค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลที่ต้องเปลี่ยนทุก 45 วัน เป็นทุก 30 วัน เมื่อเป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวี เนื่องจากเครื่องยนต์เอ็นจีวี จะต้องเสียค่าบำรุงรักษามากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล จึงต้องการให้ภาครัฐเห็นใจผู้ประกอบการ และนำเรื่องต้นทุนที่นอกเหนือจากราคาน้ำมันมาพิจารณาด้วย
นายกสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน กล่าวอีกว่า ช่วงที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ผู้ประกอบการต้องการประหยัดต้นทุน รัฐบาลก็สนับสนุนให้เปลี่ยนมาใช้รถโดยสารเอ็นจีวี เพราะต้องการประหยัดต้นทุน ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปลี่ยนรถเพื่อให้ผู้โดยสารได้ใช้รถใหม่ มีความปลอดภัย แต่เมื่อราคาน้ำมันดีเซลลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการก็ยังมีหนี้ที่ต้องชำระกับสถาบันการเงิน เนื่องจากกู้เงินมาซื้อรถใหม่ หากภาครัฐจะให้เอกชนลดค่าโดยสารลงอีก จะเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการมากขึ้น
ส่วนแนวโน้มจะมีการลดค่าโดยสารลงอีกหากราคาน้ำมันลดลงในอนาคตนั้น นายฉัตรชัย กล่าวว่า กลุ่มผู้ประกอบการไม่เห็นด้วย แม้ราคาน้ำมันจะลดลง แต่ผู้ประกอบการที่มีรถร่วมรวมกัน จำนวน 3,493 คัน กว่าร้อยละ 90 เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์เอ็นจีวี ซึ่งต้องสั่งนำเข้ารถมาจากต่างประเทศและต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินรวมแล้ว 2,000 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ประมาณ 2-3 ปีต่อราย และรายจ่ายที่เป็นต้นทุนก็ไม่ใช่เฉพาะราคาน้ำมัน แต่ยังมีค่าสึกหรอ ค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลที่ต้องเปลี่ยนทุก 45 วัน เป็นทุก 30 วัน เมื่อเป็นเครื่องยนต์เอ็นจีวี เนื่องจากเครื่องยนต์เอ็นจีวี จะต้องเสียค่าบำรุงรักษามากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล จึงต้องการให้ภาครัฐเห็นใจผู้ประกอบการ และนำเรื่องต้นทุนที่นอกเหนือจากราคาน้ำมันมาพิจารณาด้วย
นายกสมาคมพัฒนารถร่วมเอกชน กล่าวอีกว่า ช่วงที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ผู้ประกอบการต้องการประหยัดต้นทุน รัฐบาลก็สนับสนุนให้เปลี่ยนมาใช้รถโดยสารเอ็นจีวี เพราะต้องการประหยัดต้นทุน ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปลี่ยนรถเพื่อให้ผู้โดยสารได้ใช้รถใหม่ มีความปลอดภัย แต่เมื่อราคาน้ำมันดีเซลลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการก็ยังมีหนี้ที่ต้องชำระกับสถาบันการเงิน เนื่องจากกู้เงินมาซื้อรถใหม่ หากภาครัฐจะให้เอกชนลดค่าโดยสารลงอีก จะเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการมากขึ้น