ดร.พงษ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงการจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ปีนี้ว่า เนื่องจากอยู่ในช่วงการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งมีทั้งการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. และการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ในเขต 10 การเตรียมการจัดงานต่างๆ จึงมีข้อกฎหมายที่ต้องระมัดระวัง
ดังนั้นในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2552 กทม. จะจัดกิจกรรมเฉพาะพิธีสงฆ์และกิจกรรมทางศาสนา โดยในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธรูปประจำ กทม. ไปประดิษฐานที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนได้สักการะขอพรเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลปีใหม่ และจะมีกิจกรรมทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ปี 2552 เท่านั้น ส่วนกิจกรรมนับถอยหลัง หรือเคาท์ดาวน์ปีเก่าสู่ปีใหม่ 2552 รวมทั้งงานมหรสพหรือกิจกรรมบนเวทีจะไม่มี เพื่อให้เหมาะควรตามกฎหมายเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคเอกชนที่จะมีการจัดงานนับถอยหลังก็ดำเนินการไปได้ตามปกติ
ปลัด กทม. ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่น กทม. ยังฝากถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ทั้ง 14 คน ให้ระมัดระวังเรื่องการจัดงานเลี้ยง หรือร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ในเทศกาลปีใหม่ การจัดเลี้ยงตามประเพณีสามารถทำได้ แต่ต้องไม่จัดเลี้ยงในลักษณะจูงใจให้เลือกผู้หนึ่งผู้ใด เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายเลือกตั้ง ส่วนกรณีผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่แห่สิงโตในการหาเสียง เป็นเรื่องที่กรรมการการเลือกตั้งกรุงเทพฯ (กกต.กทม.) จะต้องสืบสวนตรวจสอบ โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้องเรียน
ดังนั้นในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2552 กทม. จะจัดกิจกรรมเฉพาะพิธีสงฆ์และกิจกรรมทางศาสนา โดยในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธรูปประจำ กทม. ไปประดิษฐานที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนได้สักการะขอพรเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลปีใหม่ และจะมีกิจกรรมทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม ปี 2552 เท่านั้น ส่วนกิจกรรมนับถอยหลัง หรือเคาท์ดาวน์ปีเก่าสู่ปีใหม่ 2552 รวมทั้งงานมหรสพหรือกิจกรรมบนเวทีจะไม่มี เพื่อให้เหมาะควรตามกฎหมายเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคเอกชนที่จะมีการจัดงานนับถอยหลังก็ดำเนินการไปได้ตามปกติ
ปลัด กทม. ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่น กทม. ยังฝากถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ทั้ง 14 คน ให้ระมัดระวังเรื่องการจัดงานเลี้ยง หรือร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ในเทศกาลปีใหม่ การจัดเลี้ยงตามประเพณีสามารถทำได้ แต่ต้องไม่จัดเลี้ยงในลักษณะจูงใจให้เลือกผู้หนึ่งผู้ใด เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมายเลือกตั้ง ส่วนกรณีผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่แห่สิงโตในการหาเสียง เป็นเรื่องที่กรรมการการเลือกตั้งกรุงเทพฯ (กกต.กทม.) จะต้องสืบสวนตรวจสอบ โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้องเรียน