การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 14 ที่ประเทศโปแลนด์ กำลังถกเถียงกันถึงเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ถึงร้อยละ 50 ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา กดดันให้ประเทศพัฒนาแล้ว ลดการปล่อยก๊าซให้ได้มากกว่านั้น
ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น จี 8 โดยเฉพาะญี่ปุ่น สหภาพยุโรป รวมทั้งสหรัฐฯ เสนอเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ร้อยละ 50 ภายในปี 2050 ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา กำลังเรียกร้องอีกเป้าหมายหนึง คือให้ลดลงร้อยละ 25 - 40 ภายในปี 2020 โดยมีข้อเสนอที่สร้างความกดดัน คือให้ถือว่าตัวเลขที่กำหนดเป็นเป้าหมายการลดในประเทศเท่านั้น แต่หากรวมกลไกเรื่องการค้าขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นการลดนอกประเทศด้วย จะต้องเพิ่มเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากกว่านั้น ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วยังไม่ยอมรับ และจะมีการนำเรื่องนี้กลับมาสู่เวทีเจรจาอีกครั้ง ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ โดยมีทั้งฝ่ายที่ต้องการให้ได้ข้อสรุป กับฝ่ายที่ยังไม่ต้องการให้มีการสรุปเรื่องเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ขณะที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2004 ถึง 4.9 หมื่นล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ขณะเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นยังคงผลักดันให้มีการปรับพันธกรณีให้เป็นแบบผูกพันสาขาการผลิต คือให้ทุกประเทศที่มีอุตสาหกรรม 5 ชนิด ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 20 คือ อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ พลังงาน ซีเมนต์ กระดาษ และอลูมิเนียม ต้องรับภาระในการลดก๊าซ ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา มีจุดยืนว่า เรื่องนี้ควรจะบังคับใช้กับประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น
ประเทศพัฒนาแล้ว เช่น จี 8 โดยเฉพาะญี่ปุ่น สหภาพยุโรป รวมทั้งสหรัฐฯ เสนอเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ร้อยละ 50 ภายในปี 2050 ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา กำลังเรียกร้องอีกเป้าหมายหนึง คือให้ลดลงร้อยละ 25 - 40 ภายในปี 2020 โดยมีข้อเสนอที่สร้างความกดดัน คือให้ถือว่าตัวเลขที่กำหนดเป็นเป้าหมายการลดในประเทศเท่านั้น แต่หากรวมกลไกเรื่องการค้าขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นการลดนอกประเทศด้วย จะต้องเพิ่มเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากกว่านั้น ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วยังไม่ยอมรับ และจะมีการนำเรื่องนี้กลับมาสู่เวทีเจรจาอีกครั้ง ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ โดยมีทั้งฝ่ายที่ต้องการให้ได้ข้อสรุป กับฝ่ายที่ยังไม่ต้องการให้มีการสรุปเรื่องเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ขณะที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2004 ถึง 4.9 หมื่นล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ขณะเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นยังคงผลักดันให้มีการปรับพันธกรณีให้เป็นแบบผูกพันสาขาการผลิต คือให้ทุกประเทศที่มีอุตสาหกรรม 5 ชนิด ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 20 คือ อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ พลังงาน ซีเมนต์ กระดาษ และอลูมิเนียม ต้องรับภาระในการลดก๊าซ ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา มีจุดยืนว่า เรื่องนี้ควรจะบังคับใช้กับประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น