ผู้นำสภาและทำเนียบขาวสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงว่าจะให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ 3 แห่ง ด้วยเม็ดเงิน 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่นางแนนซี่ เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ยอมผ่อนปรนท่าที โดยเปิดทางให้นำเงิน 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ตั้งไว้เพื่อการสนับสนุนให้ผู้ผลิตยานยนต์กู้เพื่อผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานไปใช้ในการกอบกู้สถานะการเงินที่ใกล้ล้มละลายของ 3 บริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ หรือบิ๊กทรี ซึ่งได้แก่ เจเนอรัล มอเตอร์ ฟอร์ด และไครส์เลอร์ ได้ตามข้อเสนอของรัฐบาล จากเดิมที่นางเปโลซี่คัดค้านมาตลอด แต่การตกลงกันครั้งนี้ยอมให้นำเงินไปช่วยได้เพียง 15,000-17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่กลุ่มบิ๊กทรีขอความช่วยเหลือเป็นเงิน 34,000 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าจะมีการลงมติร่างกฎหมายกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจบิ๊กทรีในสัปดาห์หน้า
ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้นางเปโลซี เปลี่ยนท่าทีจนเกิดความคืบหน้าครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากรายตัวเลขคนว่างงานล่าสุดที่กระทรวงแรงงานเผยว่า มีคนตกงานจากปัญหาวิกฤตการเงินเมื่อเดือนที่ผ่านมากว่า 530,000 คน
ขณะที่ประธานาธิบดี บุช เตือนว่า 1 ใน 3 ค่ายผลิตยานยนต์ดังกล่าว อาจไม่สามารถเอาตัวรอดได้จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งความล้มเหลวของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์จะส่งผลต่อการจ้างงานในประเทศหลายล้านตำแหน่ง
ข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่นางแนนซี่ เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ยอมผ่อนปรนท่าที โดยเปิดทางให้นำเงิน 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ตั้งไว้เพื่อการสนับสนุนให้ผู้ผลิตยานยนต์กู้เพื่อผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานไปใช้ในการกอบกู้สถานะการเงินที่ใกล้ล้มละลายของ 3 บริษัทผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ หรือบิ๊กทรี ซึ่งได้แก่ เจเนอรัล มอเตอร์ ฟอร์ด และไครส์เลอร์ ได้ตามข้อเสนอของรัฐบาล จากเดิมที่นางเปโลซี่คัดค้านมาตลอด แต่การตกลงกันครั้งนี้ยอมให้นำเงินไปช่วยได้เพียง 15,000-17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่กลุ่มบิ๊กทรีขอความช่วยเหลือเป็นเงิน 34,000 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าจะมีการลงมติร่างกฎหมายกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจบิ๊กทรีในสัปดาห์หน้า
ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้นางเปโลซี เปลี่ยนท่าทีจนเกิดความคืบหน้าครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากรายตัวเลขคนว่างงานล่าสุดที่กระทรวงแรงงานเผยว่า มีคนตกงานจากปัญหาวิกฤตการเงินเมื่อเดือนที่ผ่านมากว่า 530,000 คน
ขณะที่ประธานาธิบดี บุช เตือนว่า 1 ใน 3 ค่ายผลิตยานยนต์ดังกล่าว อาจไม่สามารถเอาตัวรอดได้จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งความล้มเหลวของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์จะส่งผลต่อการจ้างงานในประเทศหลายล้านตำแหน่ง