นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า ขณะนี้รู้สึกดีใจที่สังคมเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ แม้การดำเนินการที่เกิดขึ้นบางครั้งถูกต้อง แต่ไม่ถูกใจ หรือบางครั้งเป็นความถูกใจ แต่ไม่ถูกต้องก็ตาม ซึ่งพรรคชาติไทยยินยอมและเคารพกฎหมายบ้านเมืองโดยตลอด โดยเฉพาะคำตัดสินคดียุบพรรคการเมือง เพราะแม้จะเจ็บปวด แต่พรรคก็ยอมรับและดีใจที่ความสูญเสียของพรรค ทำให้บ้านเมืองสงบ
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นหลักประกันว่าอนาคตจะไม่เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก โดยเฉพาะ 3 พรรคการเมือง ปฏิบัติตามกฎหมายและถูกยุบพรรค ดังนั้นอยากเห็นการดำเนินการกับคนอีกกลุ่มที่ไม่ยอมรับกฎหมาย และไม่มีใครกล้าดำเนินการ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรักษากฎหมาย โดยดำเนินคดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นจะมีอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย
นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ ยังไม่เห็นด้วยหากจะมีการยุบสภา เพราะสภาเป็นหัวใจของประชาธิปไตย และที่ผ่านมาสภาไม่ได้มีความผิด ดังนั้น ส.ส.ที่เหลืออยู่ต้องร่วมกันดำเนินการไม่ให้การเมืองกลับไปสู่วิกฤตอีก โดยเฉพาะการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งในจำนวน ส.ส.ยังมีคนมีความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม จุดชี้ขาดจะอยู่ที่การหารือของอดีตพรรคร่วมรัฐบาล แต่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพราะเป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่จะไม่มีฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบ
ส่วนกรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศอาจชุมนุมอีก หากได้นายกรัฐมนตรีที่ไม่เป็นที่ยอมรับ เห็นว่า เป็นเรื่องของสังคมว่าจะให้การยอมรับหรือไม่ เพราะพันธมิตรฯ ไม่ได้หมายถึงแค่แกนนำเพียง 5 หรือ 12 คนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นหลักประกันว่าอนาคตจะไม่เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก โดยเฉพาะ 3 พรรคการเมือง ปฏิบัติตามกฎหมายและถูกยุบพรรค ดังนั้นอยากเห็นการดำเนินการกับคนอีกกลุ่มที่ไม่ยอมรับกฎหมาย และไม่มีใครกล้าดำเนินการ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรักษากฎหมาย โดยดำเนินคดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะไม่เช่นนั้นจะมีอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย
นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ ยังไม่เห็นด้วยหากจะมีการยุบสภา เพราะสภาเป็นหัวใจของประชาธิปไตย และที่ผ่านมาสภาไม่ได้มีความผิด ดังนั้น ส.ส.ที่เหลืออยู่ต้องร่วมกันดำเนินการไม่ให้การเมืองกลับไปสู่วิกฤตอีก โดยเฉพาะการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งในจำนวน ส.ส.ยังมีคนมีความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม จุดชี้ขาดจะอยู่ที่การหารือของอดีตพรรคร่วมรัฐบาล แต่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพราะเป็นเรื่องไม่เหมาะสมที่จะไม่มีฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบ
ส่วนกรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศอาจชุมนุมอีก หากได้นายกรัฐมนตรีที่ไม่เป็นที่ยอมรับ เห็นว่า เป็นเรื่องของสังคมว่าจะให้การยอมรับหรือไม่ เพราะพันธมิตรฯ ไม่ได้หมายถึงแค่แกนนำเพียง 5 หรือ 12 คนเท่านั้น