ทิปปี หรือฉายาหนูน้อยเมาคลี ปรากฎตัวในหนังสือเล่มใหม่ “ทิปปี : มาย บุ๊ก ออฟ แอฟริกา” หนังสือภาพสัตว์ป่าฝีมือการถ่ายของพ่อแม่หนูน้อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรักความผูกพันอันน่าประทับใจระหว่างคนกับสัตว์ที่ไม่ได้เป็นเรื่องที่มีแค่ในโลกของนิทานอีกต่อไป
หากจะกล่าวว่าทิปปีก็คือเมาคลีลูกหมาป่าในนิทาน “เดอะ จังเกิล บุ๊ก” ของรัดยาร์ด คิปปลิง ก็คงจะไม่ผิดนัก ซึ่งในหนังสือเล่มใหม่ของทิปปี เป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนมิตรภาพระหว่างทิปปีและฝูงเพื่อนในป่าแอฟริกาได้เป็นอย่างดี
ซิลวี โรแบร์ แม่ ซึ่งปัจจุบันหย่ากับอแลง เดอกรี พ่อของทิปปีแล้ว เล่าว่า พวกเขาทั้งคู่เป็นชาวฝรั่งเศส แต่ได้ย้ายมาทำงานที่แอฟริกา จนกระทั่งให้กำเนิดทิปปีที่เมืองวินด์โฮค ประเทศนามิเบียเมื่อปี 1990 ขณะที่ทิปปีจะใช้ชีวิตผจญภัยอยู่กับพวกเขาในการตระเวนถ่ายภาพสัตว์ป่าในประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตั้งแต่เกิด จนกระทั่งมีอายุได้ 10 ปี
“มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่เราทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตที่อิสระท่ามกลางธรรมชาติกับลูกสาวคนนี้ ทิปปีเป็นเด็กที่โชคดีมาก เธอเกิดและเติบโตขึ้นมาในป่า และทั้งป่าก็มีแค่เรา 3 คนกับสัตว์ต่างๆ” ซิลวีกล่าว
แม่ของหนูน้อยเมาคลี กล่าวด้วยว่า ทิปปีพูดเสมอว่าคนทุกคนจะได้รับของขวัญ และสัตว์ทุกตัวก็คือของขวัญของเธอ นอกจากนี้ทิปปียังเชื่อว่าสัตว์ทุกตัวมีขนาดเท่ากันกับเธอ และเป็นเพื่อนๆ ของเธอ ซึ่งจากความไร้เดียงสาและจินตนาการนี่เองที่ทำให้ทิปปีกลายเป็นเพื่อนสนิทกับอาบู ช้างแอฟริกันแห่งผืนป่านี้
“ทิปปีไม่กลัวอาบูเลย เธอไม่ได้คิดเลยว่าเธอตัวเล็กกว่าอาบูมาก เธอยังชอบจ้องตาและพูดคุยกับอาบูเสมอ ทั้งคู่เจอกันตอนที่ทิปปีมีอายุแค่ขวบครึ่ง มันเป็นช่วงเวลาที่พิเศษและเหลือเชื่อมาก” แม่ของทิปปีกล่าว
ผู้เป็นแม่ยังได้เล่าถึงเหตุการณ์ขณะทิปปีได้ขี่หลังอูฐว่า ทิปปีขึ้นขี่หลังลินดา ซึ่งเป็นอูฐในฟาร์มแห่งหนึ่ง แต่ลินดากลับกลัวทิปปีจนไม่กล้าเคลื่อนไหว และครอบครัวของเธอยังได้เก็บขนของลินดาเอาไว้เพื่อให้พบแต่เรื่องดีๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตามแม้ว่าทิปปีและผองเพื่อนจะมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี แต่ซิลวีและอแลงเองก็ไม่เคยประมาทในเรื่องความปลอดภัยของลูก
“คุณอาจไม่สามารถเข้าใกล้สัตว์ป่าเหมือนที่ทิปปีทำได้ เพราะสัตว์อาจวิ่งหนี หรือไม่ก็จู่โจมคุณ หากพวกมันเกิดความกลัว ได้รับบาดเจ็บ หรือต้องการปกป้องลูกของมัน แต่ในหลายพื้นที่ของแอฟริกาใต้ ผู้คนมักชอบเลี้ยงวัว แกะ และละมั่ง และมักนำสัตว์ที่กำพร้ามาเลี้ยงไว้ในบ้าน พวกมันจึงเชื่องและคุ้นเคยกับคน และนี่เองที่เป็นเหตุผลให้ทิปปีสนิทสนมใกล้ชิดกับสัตว์ต่างๆ” แม่ของหนูน้อยเมาคลีกล่าวทิ้งท้าย
หากจะกล่าวว่าทิปปีก็คือเมาคลีลูกหมาป่าในนิทาน “เดอะ จังเกิล บุ๊ก” ของรัดยาร์ด คิปปลิง ก็คงจะไม่ผิดนัก ซึ่งในหนังสือเล่มใหม่ของทิปปี เป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนมิตรภาพระหว่างทิปปีและฝูงเพื่อนในป่าแอฟริกาได้เป็นอย่างดี
ซิลวี โรแบร์ แม่ ซึ่งปัจจุบันหย่ากับอแลง เดอกรี พ่อของทิปปีแล้ว เล่าว่า พวกเขาทั้งคู่เป็นชาวฝรั่งเศส แต่ได้ย้ายมาทำงานที่แอฟริกา จนกระทั่งให้กำเนิดทิปปีที่เมืองวินด์โฮค ประเทศนามิเบียเมื่อปี 1990 ขณะที่ทิปปีจะใช้ชีวิตผจญภัยอยู่กับพวกเขาในการตระเวนถ่ายภาพสัตว์ป่าในประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตั้งแต่เกิด จนกระทั่งมีอายุได้ 10 ปี
“มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่เราทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตที่อิสระท่ามกลางธรรมชาติกับลูกสาวคนนี้ ทิปปีเป็นเด็กที่โชคดีมาก เธอเกิดและเติบโตขึ้นมาในป่า และทั้งป่าก็มีแค่เรา 3 คนกับสัตว์ต่างๆ” ซิลวีกล่าว
แม่ของหนูน้อยเมาคลี กล่าวด้วยว่า ทิปปีพูดเสมอว่าคนทุกคนจะได้รับของขวัญ และสัตว์ทุกตัวก็คือของขวัญของเธอ นอกจากนี้ทิปปียังเชื่อว่าสัตว์ทุกตัวมีขนาดเท่ากันกับเธอ และเป็นเพื่อนๆ ของเธอ ซึ่งจากความไร้เดียงสาและจินตนาการนี่เองที่ทำให้ทิปปีกลายเป็นเพื่อนสนิทกับอาบู ช้างแอฟริกันแห่งผืนป่านี้
“ทิปปีไม่กลัวอาบูเลย เธอไม่ได้คิดเลยว่าเธอตัวเล็กกว่าอาบูมาก เธอยังชอบจ้องตาและพูดคุยกับอาบูเสมอ ทั้งคู่เจอกันตอนที่ทิปปีมีอายุแค่ขวบครึ่ง มันเป็นช่วงเวลาที่พิเศษและเหลือเชื่อมาก” แม่ของทิปปีกล่าว
ผู้เป็นแม่ยังได้เล่าถึงเหตุการณ์ขณะทิปปีได้ขี่หลังอูฐว่า ทิปปีขึ้นขี่หลังลินดา ซึ่งเป็นอูฐในฟาร์มแห่งหนึ่ง แต่ลินดากลับกลัวทิปปีจนไม่กล้าเคลื่อนไหว และครอบครัวของเธอยังได้เก็บขนของลินดาเอาไว้เพื่อให้พบแต่เรื่องดีๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตามแม้ว่าทิปปีและผองเพื่อนจะมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี แต่ซิลวีและอแลงเองก็ไม่เคยประมาทในเรื่องความปลอดภัยของลูก
“คุณอาจไม่สามารถเข้าใกล้สัตว์ป่าเหมือนที่ทิปปีทำได้ เพราะสัตว์อาจวิ่งหนี หรือไม่ก็จู่โจมคุณ หากพวกมันเกิดความกลัว ได้รับบาดเจ็บ หรือต้องการปกป้องลูกของมัน แต่ในหลายพื้นที่ของแอฟริกาใต้ ผู้คนมักชอบเลี้ยงวัว แกะ และละมั่ง และมักนำสัตว์ที่กำพร้ามาเลี้ยงไว้ในบ้าน พวกมันจึงเชื่องและคุ้นเคยกับคน และนี่เองที่เป็นเหตุผลให้ทิปปีสนิทสนมใกล้ชิดกับสัตว์ต่างๆ” แม่ของหนูน้อยเมาคลีกล่าวทิ้งท้าย