น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สธ.มอบหมายให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค วิเคราะห์ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางเรือ ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 28 แห่งทั่วประเทศ ย้อนหลัง 10 ปี และข้อมูลจากกองตรวจการขนส่งทางน้ำ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กระทรวงคมนาคม ระหว่าง พ.ศ. 2541-2550 พบว่า การเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรทางเรือมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 18 ครั้ง เหตุเกิดมากที่สุดในเดือน พฤศจิกายนและ ธันวาคม และมีแนวโน้มสูงในช่วงเดือน เมษายน- มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลท่องเที่ยว และบางเดือนเป็นช่วงมรสุม
ในส่วนของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตพบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้บาดเจ็บเฉลี่ยปีละ 427 ราย มากที่สุดในปี 2549 จำนวน 569 ราย สาเหตุเกิดจากเรือล่มและพลิกคว่ำ ร้อยละ 87 รองลงมาเป็นเรือชนกัน ร้อยละ 7 และเรือเกิดเพลิงไหม้ ร้อยละ 4 สำหรับผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 22 ราย มากที่สุดในปี 2549 จำนวน 31 ราย สาเหตุเกิดจากเรือล่มและพลิกคว่ำ ร้อยละ 57 รองลงมา เรือชนกัน ร้อยละ 28 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นชายมากกว่าหญิงถึง 4 เท่า กลุ่มอายุ 35-49 ปี บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ส่วนกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีแนวโน้มบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ พบว่าเกิดจากการบรรทุกเกินน้ำหนัก เรือมีสภาพไม่ปลอดภัย คนขับเรือไม่ชำนาญ และบนเรือม่มีเครื่องช่วยชีวิต เช่น เสื้อ ชูชีพ ห่วงยาง หรือมีแต่ไม่เพียงพอ โดยมีเหตุธรรมชาติ เช่น พายุ คลื่นลมแรง เป็นปัจจัยเสริม
ในส่วนของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตพบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้บาดเจ็บเฉลี่ยปีละ 427 ราย มากที่สุดในปี 2549 จำนวน 569 ราย สาเหตุเกิดจากเรือล่มและพลิกคว่ำ ร้อยละ 87 รองลงมาเป็นเรือชนกัน ร้อยละ 7 และเรือเกิดเพลิงไหม้ ร้อยละ 4 สำหรับผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 22 ราย มากที่สุดในปี 2549 จำนวน 31 ราย สาเหตุเกิดจากเรือล่มและพลิกคว่ำ ร้อยละ 57 รองลงมา เรือชนกัน ร้อยละ 28 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นชายมากกว่าหญิงถึง 4 เท่า กลุ่มอายุ 35-49 ปี บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ส่วนกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีแนวโน้มบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ พบว่าเกิดจากการบรรทุกเกินน้ำหนัก เรือมีสภาพไม่ปลอดภัย คนขับเรือไม่ชำนาญ และบนเรือม่มีเครื่องช่วยชีวิต เช่น เสื้อ ชูชีพ ห่วงยาง หรือมีแต่ไม่เพียงพอ โดยมีเหตุธรรมชาติ เช่น พายุ คลื่นลมแรง เป็นปัจจัยเสริม