วันนี้ (5 พ.ย.) เวลา 08.30 น. ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ยังคงมีระดับสูงขึ้นอีกประมาณ 30 เซนติเมตร สร้างความเดือดร้อนกับประชาชนขยายวงกว้างออกไปอีก ส่วนบ้านเรือนประชาชนที่ตั้งอยู่ริมคลองบางหลวง อำเภอบางบาล ถูกน้ำท่วมหนัก ส่วนถนนภายในหมู่บ้านถูกตัดขาด ชาวบ้านต้องใช้เรือเป็นพาหนะอย่างเดียว นอกจากนี้พื้นที่รอบข้างส่วนใหญ่เป็นป่ารก ทำให้สัตว์ที่มีพิษ หนีน้ำออกมาว่าย เพ่นพล่าน สร้างความหวาดกลัวแก่ชาวบ้าน
นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำจากแม่น้ำน้อย ที่ไหลผ่านอำเภอเสนา น้ำได้ไหลทะลักฝ่ากำแพงกั้นน้ำริมตลิ่งที่สร้างมานานกว่า 3 ปี เข้าท่วมย่านธุรกิจการค้าสำคัญของอำเภอเสนา ทำให้ชาวบ้านต้องเดินจับจ่ายสินค้าในตลาดสดที่มีระดับน้ำท่วมสูงกว่า 50 เซนติเมตร ส่วนแม่ค้าบางราย ต้องขนย้ายสินค้าหนีมาขายบนที่สูง สำหรับตลาดเสนาถูกน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี พ่อค้าและแม่ค้าเดือดร้อนทุกครั้ง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาแบบถาวร กำแพงป้องกั้นน้ำที่กรมโยธาธิการและผังเมืองออกแบบสร้างด้วยงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท ยังไม่สามารถใช้ป้องกันน้ำได้ เนื่องจากก่อสร้างได้เพียงร้อยละ 80
นายวิเชียร พวงลำเจียก ประธานกลุ่มเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เกษตรกรที่ทำนาทำไร่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากข้าวหลายพื้นที่กำลังตั้งท้องและรอการเก็บเกี่ยว เมื่อน้ำมาจึงไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอยากให้เขื่อนเจ้าพระยาแจ้งตัวเลขการปล่อยน้ำที่ชัดเจน เช่น หากปล่อย 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก็ขอให้แจ้งการปล่อยน้ำที่ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไม่ใช่ปล่อยน้ำ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่แจ้งการปล่อยน้ำเพียงแค่ 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพราะหากเป็นเช่นนี้การแจ้งระบายน้ำกับชาวบ้านก็ไม่เกิดประโยชน์
นายวิเชียร ระบุว่า หากชลประทานแจ้งการปล่อยน้ำที่ถูกต้องกับชาวบ้าน ทุกคนที่อยู่ริมน้ำก็จะรู้ตัวเองว่า เมื่อปล่อยน้ำระดับเท่าใด จะต้องขนย้ายสิ่งของเพื่อหนีน้ำท่วม และที่ผ่านมาชาวบ้านจะไม่ได้รับความเดือดร้อนเมื่อมีการระบายน้ำและแจ้งตัวเลขที่ชัดเจน จึงอยากฝากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขด้วย เพราะจะได้ไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำจากแม่น้ำน้อย ที่ไหลผ่านอำเภอเสนา น้ำได้ไหลทะลักฝ่ากำแพงกั้นน้ำริมตลิ่งที่สร้างมานานกว่า 3 ปี เข้าท่วมย่านธุรกิจการค้าสำคัญของอำเภอเสนา ทำให้ชาวบ้านต้องเดินจับจ่ายสินค้าในตลาดสดที่มีระดับน้ำท่วมสูงกว่า 50 เซนติเมตร ส่วนแม่ค้าบางราย ต้องขนย้ายสินค้าหนีมาขายบนที่สูง สำหรับตลาดเสนาถูกน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี พ่อค้าและแม่ค้าเดือดร้อนทุกครั้ง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาแบบถาวร กำแพงป้องกั้นน้ำที่กรมโยธาธิการและผังเมืองออกแบบสร้างด้วยงบประมาณกว่า 300 ล้านบาท ยังไม่สามารถใช้ป้องกันน้ำได้ เนื่องจากก่อสร้างได้เพียงร้อยละ 80
นายวิเชียร พวงลำเจียก ประธานกลุ่มเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เกษตรกรที่ทำนาทำไร่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากข้าวหลายพื้นที่กำลังตั้งท้องและรอการเก็บเกี่ยว เมื่อน้ำมาจึงไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอยากให้เขื่อนเจ้าพระยาแจ้งตัวเลขการปล่อยน้ำที่ชัดเจน เช่น หากปล่อย 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก็ขอให้แจ้งการปล่อยน้ำที่ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไม่ใช่ปล่อยน้ำ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่แจ้งการปล่อยน้ำเพียงแค่ 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพราะหากเป็นเช่นนี้การแจ้งระบายน้ำกับชาวบ้านก็ไม่เกิดประโยชน์
นายวิเชียร ระบุว่า หากชลประทานแจ้งการปล่อยน้ำที่ถูกต้องกับชาวบ้าน ทุกคนที่อยู่ริมน้ำก็จะรู้ตัวเองว่า เมื่อปล่อยน้ำระดับเท่าใด จะต้องขนย้ายสิ่งของเพื่อหนีน้ำท่วม และที่ผ่านมาชาวบ้านจะไม่ได้รับความเดือดร้อนเมื่อมีการระบายน้ำและแจ้งตัวเลขที่ชัดเจน จึงอยากฝากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขด้วย เพราะจะได้ไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน