นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย พร้อมด้วยกลุ่มผู้ใช้แรงงาน กว่า 10 คน ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ขอให้ไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราว ยกเลิกการใช้ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยแนวทางและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ในคณะกรรมการไตรภาคี 8 คณะ
โดยนางสาววิไลวรรณ กล่าวว่า ระเบียบของกระทรวงแรงงานที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่าให้มีการจัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคี ที่ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิ์เลือกผู้แทนของตน โดยระเบียบของกระทรวงแรงงานกำหนดให้ สหภาพแรงงานมีสิทธิ์ออกเสียงได้ 1 เสียง ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตร 84(7) ที่มีสาระสำคัญกำหนดให้การจัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคี ที่ผู้ทำงานมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้แทนของตนในลักษณะ 1 คน 1 คะแนนเสียง ทั้งนี้ผู้ประกันตนควรมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนของตนเพื่อเข้ามาบริหารกองทุนประกันสังคมโดยตรง ตามรัฐธรรมนูญกำหนด
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวอีกว่า หากกระทรวงแรงงานไม่ระงับการเลือกตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ทั้ง 8 คณะ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จะประชุมหารือกันอีกครั้ง ในวันที่ 2 พฤศจิกายน เพื่อกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหวอีกครั้ง
โดยนางสาววิไลวรรณ กล่าวว่า ระเบียบของกระทรวงแรงงานที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่าให้มีการจัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคี ที่ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิ์เลือกผู้แทนของตน โดยระเบียบของกระทรวงแรงงานกำหนดให้ สหภาพแรงงานมีสิทธิ์ออกเสียงได้ 1 เสียง ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตร 84(7) ที่มีสาระสำคัญกำหนดให้การจัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคี ที่ผู้ทำงานมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้แทนของตนในลักษณะ 1 คน 1 คะแนนเสียง ทั้งนี้ผู้ประกันตนควรมีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนของตนเพื่อเข้ามาบริหารกองทุนประกันสังคมโดยตรง ตามรัฐธรรมนูญกำหนด
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวอีกว่า หากกระทรวงแรงงานไม่ระงับการเลือกตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ทั้ง 8 คณะ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จะประชุมหารือกันอีกครั้ง ในวันที่ 2 พฤศจิกายน เพื่อกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหวอีกครั้ง