หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักเกณฑ์และวิธีการให้ช่วยเหลือผู้เสียหาย จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2 กันยายน และ 7 ตุลาคม
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขผู้บาดเจ็บจากศูนย์นเรนธร มีทั้งสิ้น 612 คน และเสียชีวิต 3 คน จึงแบ่งการเยียวยาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แบบเร่งด่วน ได้แก่ ผู้บาดเจ็บ จึงขอให้นำหลักฐาน ที่เป็นบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและใบรับรองแพทย์มายืนยัน และขอขึ้นทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
โดยผู้บาดเจ็บเล็กน้อยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาล ได้รับเงินชดเชยรายละ 20,000 บาท ที่ต้องนอนรักษาโรงพยาบาลไม่ถึง 20 วัน ได้รับเงินชดเชย 60,000 บาท ผู้บาดเจ็บสาหัสและนอนโรงพยาบาล นานเกิน 20 วัน ได้รับเงินชดเชย 100,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิตมี 3 ราย ได้รับเงินชดเชย 400,000 บาท ขอให้ผู้ที่เป็นทายาทนำหลักฐานใบมรณะบัตร และเอกสารที่แสดงว่าเป็นทายาท มาติดต่อและรับเงินได้ ตั้งแต่วันนี้ (29 ต.ค.)
สำหรับการให้ความช่วยเหลือแบบไม่เร่งด่วน ได้แก่ การฟื้นฟูสมรรถภาพ สำหรับผู้บาดเจ็บที่พิการ จะได้รับเงินเพิ่มอีก 200,000 บาท และมีเงินยังชีพจ่ายให้เป็นรายเดือนอีก 1,000-3,000 บาท
ขณะที่บุตร หรือทายาทของผู้เสียชีวิต จะได้รับเงินจากกรมฯ เป็นการรักษาค่ายังชีพรายเดือน แบ่งเป็นระดับอนุบาลถึงประถม ได้รายละ 1,000 บาท ส่วนก่อนอนุบาลได้รับเดือนละ 1,500 บาท และระดับอุดมศึกษา ได้รับเดือนละ 2,500 บาท
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวว่า ขณะนี้ตัวเลขผู้บาดเจ็บจากศูนย์นเรนธร มีทั้งสิ้น 612 คน และเสียชีวิต 3 คน จึงแบ่งการเยียวยาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แบบเร่งด่วน ได้แก่ ผู้บาดเจ็บ จึงขอให้นำหลักฐาน ที่เป็นบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและใบรับรองแพทย์มายืนยัน และขอขึ้นทะเบียนได้ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
โดยผู้บาดเจ็บเล็กน้อยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาล ได้รับเงินชดเชยรายละ 20,000 บาท ที่ต้องนอนรักษาโรงพยาบาลไม่ถึง 20 วัน ได้รับเงินชดเชย 60,000 บาท ผู้บาดเจ็บสาหัสและนอนโรงพยาบาล นานเกิน 20 วัน ได้รับเงินชดเชย 100,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิตมี 3 ราย ได้รับเงินชดเชย 400,000 บาท ขอให้ผู้ที่เป็นทายาทนำหลักฐานใบมรณะบัตร และเอกสารที่แสดงว่าเป็นทายาท มาติดต่อและรับเงินได้ ตั้งแต่วันนี้ (29 ต.ค.)
สำหรับการให้ความช่วยเหลือแบบไม่เร่งด่วน ได้แก่ การฟื้นฟูสมรรถภาพ สำหรับผู้บาดเจ็บที่พิการ จะได้รับเงินเพิ่มอีก 200,000 บาท และมีเงินยังชีพจ่ายให้เป็นรายเดือนอีก 1,000-3,000 บาท
ขณะที่บุตร หรือทายาทของผู้เสียชีวิต จะได้รับเงินจากกรมฯ เป็นการรักษาค่ายังชีพรายเดือน แบ่งเป็นระดับอนุบาลถึงประถม ได้รายละ 1,000 บาท ส่วนก่อนอนุบาลได้รับเดือนละ 1,500 บาท และระดับอุดมศึกษา ได้รับเดือนละ 2,500 บาท