นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เปิดเผยว่า จากกรณีที่เกิดปัญหาสงครามกับพื้นที่มรดกโลกปราสาทพระวิหารนั้น ที่ผ่านมาในอดีตเคยมีแนวทางปฏิบัติอยู่บ้าง เช่น ในพื้นที่ประเทศคองโก หรือกรุงเยรูซาเล็ม ที่มีการยื่นเรื่องต่อองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น เพื่อขอให้เป็นพื้นที่เสี่ยง เพื่อให้ยูเอ็นเข้ามาช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ ส่วนกรณีปราสาทพระวิหารนั้น เป็นไปได้ว่ากัมพูชาอาจยื่นเรื่องเพื่อขอให้ยูเอ็นเข้ามาช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ เพื่อขอคณะกรรมการมรดกโลกให้เป็นพื้นที่เสี่ยง แต่ตนมองว่ากัมพูชายังคงต้องพิจารณาก่อนว่า ตนเองจะได้ประโยชน์แค่ไหนจากการยื่นเรื่องขอเป็นพื้นที่เสี่ยง
นอกจากนี้ นายปองพล ตั้งข้อสังเกตอีกว่า กัมพูชาพยายามจะใช้ปราสาทพระวิหารเป็นประเด็นทางการเมือง และตัวปราสาทนั้นมีอายุพันกว่าปี ทำให้มีสภาพทรุดโทรมมาก และมีโอกาสพังเสียหายได้ตลอดเวลา ในอนาคตอาจเกิดพังเสียหายขึ้นอาจกล่าวหาว่าไทยเป็นผู้ทำให้ตัวปราสาทเสียหาย เพื่อสร้างกระแสรักชาติ และผลทางการเมืองต่อด้วย
นอกจากนี้ นายปองพล ตั้งข้อสังเกตอีกว่า กัมพูชาพยายามจะใช้ปราสาทพระวิหารเป็นประเด็นทางการเมือง และตัวปราสาทนั้นมีอายุพันกว่าปี ทำให้มีสภาพทรุดโทรมมาก และมีโอกาสพังเสียหายได้ตลอดเวลา ในอนาคตอาจเกิดพังเสียหายขึ้นอาจกล่าวหาว่าไทยเป็นผู้ทำให้ตัวปราสาทเสียหาย เพื่อสร้างกระแสรักชาติ และผลทางการเมืองต่อด้วย