คณะทำงานพัฒนาสมัชชาป่าชุมชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรเครือข่าย จัดงานสัมมนาระดับชาติครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้เครือข่ายป่าชุมชนท้องถิ่น แลกเปลี่ยนสถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ และองค์ความรู้การจัดการทรัพยากรป่าไม้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อน วิกฤตน้ำมัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่นจนถึงระดับโลก ผู้เข้าร่วมสัมมนามองว่า การแก้ปัญหาควรเชื่อมโยงหลายประเด็นรวมทั้งนโยบายต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่นปัญหาจากการปลูกพืชพลังงานทดแทน ที่ส่งผลต่อการคุกคามต่อพื้นป่าธรรมชาติ ป่าชุมชน ป่าหัวไร่ปลายนา และพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นประเด็นที่ท้าทาย ทั้งในระดับนโยบาย และระดับท้องถิ่นอย่างยิ่งในอนาคต ฉะนั้นชุมชนท้องถิ่นจึงมีบทบาทสำคัญในการร่วมกันแก้ไขปัญหา
ปัจจุบันประเทศไทยมีชุมชนกว่า 70,000 ชุมชน ที่มีโอกาสสร้างหย่อมป่าได้จำนวนมาก ซึ่งสามารถเพิ่มแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซค์ ซึ่งมีผลเป็นการลดภาวะโลกร้อนได้ และยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบนฐานทรัพยากรชีวภาพของท้องถิ่นอีกด้วย
ปัจจุบันประเทศไทยมีชุมชนกว่า 70,000 ชุมชน ที่มีโอกาสสร้างหย่อมป่าได้จำนวนมาก ซึ่งสามารถเพิ่มแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซค์ ซึ่งมีผลเป็นการลดภาวะโลกร้อนได้ และยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบนฐานทรัพยากรชีวภาพของท้องถิ่นอีกด้วย