สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่ของจีนวานนี้ว่า ในระยะ 9 เดือนแรกของปีนี้ มณฑลกวางตุ้งมีทารกเกิดใหม่ถึงราว 1 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้มณฑลกวางตุ้งครองแชมป์มณฑลที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในประเทศ คือ กว่า 100 ล้านคน
นายจาง เฟิง ผู้อำนวยการคณะกรรมการวางแผนครอบครัวและประชากรของมณฑลกวางตุ้ง เปิดเผยเหตุผลหลายประการของ "เบบี้ บูม" เช่น การแก้ไขกฎหมายให้คู่สมรสมีบุตรเพิ่มเป็น 2 คน จากคนเดียว และความปรารถนาของคู่สมรสที่จะให้กำเนิดบุตร-ธิดาในปีนี้ ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน พร้อมคาดการณ์ว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดต่อเนื่องอยู่ราว 10 ปี
นายจาง ชี้ด้วยว่า ปัญหา "เบบี้ บูม" ได้เกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาที่เด็กเกิดใหม่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มขึ้นถึงราวร้อยละ 6-7 สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยแห่งชาติที่อยู่ในระดับร้อยละ 4-6 นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาความไม่สมดุลของจำนวนประชากรเพศชายและหญิงด้วย เนื่องจากสัดส่วนประชากรชายและหญิงในมณฑลกวางตุ้งขณะนี้ คือ 1.15:1 ซึ่งถึงแม้จะลดลงจากสัดส่วน 1.3:1 เมื่อปี 2543 แต่ถ้าปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข ภายในปี 2563 ประชากรชายในมณฑลกวางตุ้งราว 4.6 ล้านคนจะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากครองตัวเป็นโสด และว่าปัญหา"เบบี้ บูม" ยังอาจเชื่อมโยงไปถึงปัญหาสังคมอื่นๆ ด้วย
นายจาง เฟิง ผู้อำนวยการคณะกรรมการวางแผนครอบครัวและประชากรของมณฑลกวางตุ้ง เปิดเผยเหตุผลหลายประการของ "เบบี้ บูม" เช่น การแก้ไขกฎหมายให้คู่สมรสมีบุตรเพิ่มเป็น 2 คน จากคนเดียว และความปรารถนาของคู่สมรสที่จะให้กำเนิดบุตร-ธิดาในปีนี้ ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน พร้อมคาดการณ์ว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดต่อเนื่องอยู่ราว 10 ปี
นายจาง ชี้ด้วยว่า ปัญหา "เบบี้ บูม" ได้เกิดขึ้นพร้อมกับปัญหาที่เด็กเกิดใหม่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มขึ้นถึงราวร้อยละ 6-7 สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยแห่งชาติที่อยู่ในระดับร้อยละ 4-6 นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาความไม่สมดุลของจำนวนประชากรเพศชายและหญิงด้วย เนื่องจากสัดส่วนประชากรชายและหญิงในมณฑลกวางตุ้งขณะนี้ คือ 1.15:1 ซึ่งถึงแม้จะลดลงจากสัดส่วน 1.3:1 เมื่อปี 2543 แต่ถ้าปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข ภายในปี 2563 ประชากรชายในมณฑลกวางตุ้งราว 4.6 ล้านคนจะไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากครองตัวเป็นโสด และว่าปัญหา"เบบี้ บูม" ยังอาจเชื่อมโยงไปถึงปัญหาสังคมอื่นๆ ด้วย